เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
3. อุทายิวรรค 6. ตัณหักขยสูตร

อปริหานิยธรรม 7 ประการ เป็นอย่างไร
คือ โพชฌงค์ 7 ประการ
โพชฌงค์ 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ 7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม 7 ประการนี้แล”

อปริหานิยสูตรที่ 5 จบ

6. ตัณหักขยสูตร
ว่าด้วยมรรคและปฏิปทาเพื่อความสิ้นตัณหา

[207] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญมรรค(และ)ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อ
ความสิ้นตัณหา
มรรค เป็นอย่างไร ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา เป็นอย่างไร
คือ โพชฌงค์ 7 ประการ
โพชฌงค์ 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ 7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพชฌงค์ 7 ประการที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้
มากแล้วอย่างไร จึงเป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา”
“อุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีความเบียดเบียน เมื่อเธอเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ อันไพบูลย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :138 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
3. อุทายิวรรค 7. ตัณหานิโรธสูตร

เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีความเบียดเบียน ย่อมละ
ตัณหาได้ เพราะละตัณหาได้จึงละกรรม1ได้ เพราะละกรรมได้
จึงละทุกข์2ได้
ฯลฯ
7. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีความเบียดเบียน เมื่อเธอเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ อันไพบูลย์
เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีความเบียดเบียน ย่อมละ
ตัณหาได้ เพราะละตัณหาได้จึงละกรรมได้ เพราะละกรรมได้
จึงละทุกข์ได้
อุทายี เพราะสิ้นตัณหาจึงสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรมจึงสิ้นทุกข์ ด้วยประการ
ฉะนี้”

ตัณหักขยสูตรที่ 6 จบ

7. ตัณหานิโรธสูตร
ว่าด้วยมรรคและปฏิปทาเพื่อความดับตัณหา

[208] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญมรรค(และ)ปฏิปทาที่เป็นไป
เพื่อความดับตัณหา
มรรค เป็นอย่างไร ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความดับตัณหา เป็นอย่างไร
คือ โพชฌงค์ 7 ประการ
โพชฌงค์ 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ 7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์