เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
2. คิลานวรรค 8. วิรัทธสูตร

บัณฑิตละธรรมดำแล้วพึงเจริญธรรมขาว
ออกจากที่มีน้ำ มาสู่ที่ไม่มีน้ำ
ละกามทั้งหลายแล้วเป็นผู้หมดความกังวล
พึงปรารถนาความยินดียิ่งในวิเวกที่ยินดีได้ยากยิ่ง
บัณฑิตพึงชำระตนให้ผ่องแผ้ว
จากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งหลาย
บัณฑิตเหล่าใดอบรมจิตโดยชอบ
ในองค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้งหลาย
ไม่ถือมั่น ยินดีในนิพพานเป็นที่สละความถือมั่น
บัณฑิตเหล่านั้นสิ้นอาสวะแล้ว
มีความรุ่งเรือง ดับสนิทแล้วในโลก”1

ปารังคมสูตรที่ 7 จบ

8. วิรัทธสูตร
ว่าด้วยธรรมที่บุคคลพลาด

[199] “ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 ประการอันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
พลาดแล้ว อริยมรรคที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้น
พลาดแล้ว โพชฌงค์ 7 ประการอันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรค
ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นปรารภแล้ว
โพชฌงค์ 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ 7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 ประการอันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งพลาดแล้ว
อริยมรรคที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นพลาดแล้ว
ส่วนโพชฌงค์ 7 ประการนี้อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรคที่ให้
ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นปรารภแล้ว”

วิรัทธสูตรที่ 8 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
2. คิลานวรรค 10. นิพพิทาสูตร

9. อริยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นอริยะ

[200] “ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
เป็นอริยะ เป็นนิยยานิกธรรม1 นำออกไปเพื่อให้สิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้บำเพ็ญ
โพชฌงค์ 7 ประการนั้น
โพชฌงค์ 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ 7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็น
อริยะ เป็นนิยยานิกธรรม นำออกไปเพื่อให้สิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้บำเพ็ญโพชฌงค์ 7
ประการนั้น”

อริยสูตรที่ 9 จบ

10. นิพพิทาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย

[201] “ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
โพชฌงค์ 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ 7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน”

นิพพิทาสูตรที่ 10 จบ
คิลานวรรคที่ 2 จบ