เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
1. ปัพพตวรรค 4. วัตถสูตร

บรรดาโพชฌงค์ 7 ประการนี้ ผมประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ใน
เวลาเช้า ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้น ๆ ประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลา
เที่ยง ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้น ๆ ประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลาเย็น
ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้น ๆ
ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ผมก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ของผมไม่มีประมาณ
ผมปรารภดีแล้ว ผมรู้ชัดสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่าดำรงอยู่ ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์
ของผมเคลื่อนไป ผมก็รู้ชัดว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย ฯลฯ ถ้าอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ผมก็รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมไม่มีประมาณ
ผมปรารภดีแล้ว ผมรู้ชัดอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่าดำรงอยู่ ถ้าแม้อุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป ผมก็รู้ชัดว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย
ตู้เก็บผ้าของพระราชาหรือของมหาอำมาตย์ของพระราชาบรรจุผ้าสีต่าง ๆ
พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาประสงค์จะนุ่งห่มผ้าคู่ใด ๆ ในเวลาเช้า ก็
นุ่งห่มผ้าคู่นั้น ๆ ประสงค์จะนุ่งห่มผ้าคู่ใด ๆ ในเวลาเที่ยง ก็นุ่งห่มผ้าคู่นั้น ๆ ประสงค์
จะนุ่งห่มผ้าคู่ใด ๆ ในเวลาเย็น ก็นุ่งห่มผ้าคู่นั้น ๆ แม้ฉันใด บรรดาโพชฌงค์ 7
ประการนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ผมประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลาเช้า ก็
อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้น ๆ ประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลาเที่ยง ก็อยู่
ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้น ๆ ประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วย
โพชฌงค์ข้อนั้น ๆ
ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ผมก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์
ของผมไม่มีประมาณ ผมปรารภดีแล้ว ผมรู้ชัดสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่าดำรงอยู่
ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป ผมก็รู้ชัดว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย
ฯลฯ ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ผมก็รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผม
ไม่มีประมาณ ผมปรารภดีแล้ว ผมรู้ชัดอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่าดำรงอยู่
ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป ผมก็รู้ชัดว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็น
ปัจจัย”1

วัตถสูตรที่ 4 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
1. ปัพพตวรรค 5. ภิกขุสูตร

5. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุทูลถามเรื่องโพชฌงค์

[186] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
ตรัสว่า ‘โพชฌงค์ โพชฌงค์’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระองค์จึงตรัสว่า ‘โพชฌงค์’
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ที่เรียกว่า ‘โพชฌงค์’ เพราะเป็นไป
เพื่อตรัสรู้
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
7. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
เมื่อเธอเจริญโพชฌงค์ 7 ประการนี้อยู่ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ
ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติ
สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว1 ทำกิจที่ควรทำ2เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้อีกต่อไป3’
ภิกษุ ที่เรียกว่า ‘โพชฌงค์’ เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้ อย่างนี้แล”

ภิกขุสูตรที่ 5 จบ