เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
1. ปัพพตวรรค 4. วัตถสูตร

7. หากในปัจจุบันและในเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระ
อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจ-
ปรินิพพายี ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี และ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ก็จะได้เป็นพระ
อนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี1 เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5
ประการสิ้นไป
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ 7 ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
พึงหวังผลานิสงส์ 7 ประการนี้”

สีลสูตรที่ 3 จบ

4. วัตถสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยผ้า

[185] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลาย
มากล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้
กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 ประการนี้
โพชฌงค์ 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สติสัมโพชฌงค์ 2. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
3. วิริยสัมโพชฌงค์ 4. ปีติสัมโพชฌงค์
5. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ 6. สมาธิสัมโพชฌงค์
7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
โพชฌงค์ 7 ประการนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
1. ปัพพตวรรค 4. วัตถสูตร

บรรดาโพชฌงค์ 7 ประการนี้ ผมประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ใน
เวลาเช้า ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้น ๆ ประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลา
เที่ยง ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้น ๆ ประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลาเย็น
ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้น ๆ
ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ผมก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ของผมไม่มีประมาณ
ผมปรารภดีแล้ว ผมรู้ชัดสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่าดำรงอยู่ ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์
ของผมเคลื่อนไป ผมก็รู้ชัดว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย ฯลฯ ถ้าอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ผมก็รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมไม่มีประมาณ
ผมปรารภดีแล้ว ผมรู้ชัดอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่าดำรงอยู่ ถ้าแม้อุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป ผมก็รู้ชัดว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย
ตู้เก็บผ้าของพระราชาหรือของมหาอำมาตย์ของพระราชาบรรจุผ้าสีต่าง ๆ
พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาประสงค์จะนุ่งห่มผ้าคู่ใด ๆ ในเวลาเช้า ก็
นุ่งห่มผ้าคู่นั้น ๆ ประสงค์จะนุ่งห่มผ้าคู่ใด ๆ ในเวลาเที่ยง ก็นุ่งห่มผ้าคู่นั้น ๆ ประสงค์
จะนุ่งห่มผ้าคู่ใด ๆ ในเวลาเย็น ก็นุ่งห่มผ้าคู่นั้น ๆ แม้ฉันใด บรรดาโพชฌงค์ 7
ประการนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ผมประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลาเช้า ก็
อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้น ๆ ประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลาเที่ยง ก็อยู่
ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้น ๆ ประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วย
โพชฌงค์ข้อนั้น ๆ
ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ผมก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์
ของผมไม่มีประมาณ ผมปรารภดีแล้ว ผมรู้ชัดสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่าดำรงอยู่
ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป ผมก็รู้ชัดว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย
ฯลฯ ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ผมก็รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผม
ไม่มีประมาณ ผมปรารภดีแล้ว ผมรู้ชัดอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่าดำรงอยู่
ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป ผมก็รู้ชัดว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็น
ปัจจัย”1

วัตถสูตรที่ 4 จบ