เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
1. ปัพพตวรรค 2. กายสูตร

คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำมนสิการโดย
แยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้
เกิดขึ้น หรือทำปีติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือ
ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ความสงบกาย ความสงบจิตมีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในธรรม
เหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
สมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ สมถนิมิต1 อัพยัคคนิมิต2มีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในนิมิต
เหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
สมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำมนสิการ
โดยแยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่
เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
ภิกษุทั้งหลาย กายนี้ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ขาด
อาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด โพชฌงค์ 7 ประการนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดำรง
อยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ขาดอาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้”

กายสูตรที่ 2 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
1. ปัพพตวรรค 3. สีลสูตร

3. สีลสูตร
ว่าด้วยศีล

[184] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดสมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ1
และวิมุตติญาณทัสสนะ2 การเห็น3ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การได้ยิน4ภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การเข้าไปหา5ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การเข้าไปนั่งใกล้6ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การระลึก
ถึง7ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การบวชตาม8ภิกษุเหล่านั้นก็ดี เรากล่าวว่า มีอุปการะมาก
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลได้ฟังธรรมของภิกษุเห็นปานนั้นแล้วย่อมหลีกออก
ด้วยการหลีกออก 2 อย่าง คือ (1) หลีกออกทางกาย (2) หลีกออกทางจิต เขา
หลีกออกไปอยู่อย่างนั้นย่อมระลึก ตรึกถึงธรรมนั้น
สมัยใด ภิกษุหลีกออกไปอยู่อย่างนั้นย่อมระลึก ตรึกถึงธรรมนั้น สมัยนั้น
สติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้นย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตรา
พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้นย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรม
นั้นด้วยปัญญา สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุชื่อว่า
เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
ความเพียรไม่ย่อหย่อนเป็นอันเธอผู้เลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้น
ด้วยปัญญาปรารภแล้ว