เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [1. มัคคสังยุต]
14. โอฆวรรค 10. อุทธัมภาคิยสูตร

9. โอรัมภาคิยสูตร
ว่าด้วยโอรัมภาคิยสังโยชน์

[180] “ภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) 5 ประการนี้
โอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)
2. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
3. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต)
4. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
5. พยาบาท (ความคิดปองร้าย)
โอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง 5 ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 นี้ ฯลฯ

โอรัมภาคิยสูตรที่ 9 จบ

10. อุทธัมภาคิยสูตร
ว่าด้วยอุทธัมภาคิยสังโยชน์

[181] “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง) 5 ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน)
2. อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน)
3. มานะ (ความถือตัว)
4. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
5. อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง)
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :106 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [1. มัคคสังยุต]
14. โอฆวรรค 10. อุทธัมภาคิยสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง 5 ประการนี้
อริยมรรคมีองค์ 8 เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก ฯลฯ
8. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 นี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง 5 ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. รูปราคะ 2. อรูปราคะ
3. มานะ 4. อุทธัจจะ
5. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง 5 ประการนี้

อริยมรรคมีองค์ 8 เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
8. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด ... อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด ... อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :107 }