เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [1. มัคคสังยุต]
14. โอฆวรรค 5. อนุสยสูตร

3. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ (กิเลสเครื่องผูกกายคือความถือมั่น
ศีลพรต)
4. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ (กิเลสเครื่องผูกกายคือความยึดมั่น
ว่าสิ่งนี้จริง)
คันถะ 4 ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละคันถะทั้ง 4 ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 นี้ ฯลฯ

คันถสูตรที่ 4 จบ

5. อนุสยสูตร
ว่าด้วยอนุสัย

[176] “ภิกษุทั้งหลาย อนุสัย (กิเลสที่นอนเนื่อง) 7 ประการนี้
อนุสัย 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. กามราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือกามราคะ)
2. ปฏิฆานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือปฏิฆะ)
3. ทิฏฐานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือทิฏฐิ)
4. วิจิกิจฉานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือวิจิกิจฉา)
5. มานานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือมานะ)
6. ภวราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือภวราคะ)
7. อวิชชานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคืออวิชชา)
อนุสัย 7 ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอนุสัยทั้ง 7 ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 นี้ ฯลฯ

อนุสยสูตรที่ 5 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [1. มัคคสังยุต]
14. โอฆวรรค 7. นีวรณสูตร

6. กามคุณสูตร
ว่าด้วยกามคุณ

[177] “ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ 5 ประการนี้
กามคุณ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
2. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
3. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
4. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
5. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
กามคุณ 5 ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละกามคุณทั้ง 5 ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 นี้ ฯลฯ

กามคุณสูตรที่ 6 จบ

7. นีวรณสูตร
ว่าด้วยนิวรณ์

[178] “ภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี) 5 ประการนี้
นิวรณ์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. กามฉันทนิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีคือความพอใจ
ในกาม)
2. พยาบาทนิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีคือความคิด
ปองร้าย)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :104 }