เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 5. ฉฬวรรค 2. มาลุกยปุตตสูตร

นรชนทั้งหลายผู้ต่ำทราม
มีปปัญจสัญญา (ความหมายรู้ในกิเลสเครื่องเนิ่นช้า)
ปรุงแต่งอยู่ เป็นสัตว์ที่มีสัญญา วนเวียนอยู่
ก็บุคคลบรรเทาใจที่อาศัยเรือน1 5 ทั้งปวงแล้ว
ย่อมเปลี่ยนจิตให้ประกอบด้วยเนกขัมมะ
ในกาลใดที่บุคคลอบรมใจดีแล้ว
ในอารมณ์ 6 ประการอย่างนี้
ในกาลนั้นจิตของเขาถูกสุขสัมผัสหรือทุกขสัมผัสกระทบแล้ว
ย่อมไม่หวั่นไหวในที่ไหน ๆ
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายครอบงำราคะและโทสะได้แล้ว
ย่อมเป็นผู้ถึงจุดจบ2แห่งความเกิดและความตาย”

อทันตอคุตตสูตรที่ 1 จบ

2. มาลุกยปุตตสูตร
ว่าด้วยพระมาลุกยบุตร

[95] ครั้งนั้น ท่านพระมาลุกยบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้า
พระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกาย
และใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาลุกยบุตร ในการขอโอวาทของเธอนี้ ในบัดนี้
เราจักบอกพวกภิกษุหนุ่มอย่างไรว่าเธอเป็นภิกษุผู้ชรา สูงอายุ เป็นผู้เฒ่า ล่วงกาล
มามาก ผ่านวัยมามาก ขอโอวาทโดยย่อ”
ท่านพระมาลุกยบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็น
ผู้ชรา สูงอายุ เป็นผู้เฒ่า ล่วงกาลมามาก ผ่านวัยมามากก็จริง ถึงกระนั้น
ขอพระผู้มีพระภาคผู้สุคตโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อเถิด ทำอย่างไร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 5. ฉฬวรรค 2. มาลุกยปุตตสูตร

ข้าพระองค์พึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค พึงเป็นผู้สืบต่อ
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค”
“มาลุกยบุตร เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปที่จะพึงรู้แจ้งทางตาเหล่าใด
เธอไม่ได้เห็น ไม่เคยเห็นแล้ว ย่อมไม่เห็น (ทั้งการกำหนด) ว่า ‘เราพึงเห็น’ ก็ไม่
มีแก่เธอ เธอจะมีความพอใจ กำหนัด หรือรักใคร่ในรูปเหล่านั้นหรือ”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูเหล่าใด เธอไม่ได้ฟัง ไม่เคยฟังแล้ว ย่อมไม่ฟัง ทั้งการ
กำหนดว่า ‘เราพึงฟัง’ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอจะมีความพอใจ กำหนัด หรือรักใคร่ใน
เสียงเหล่านั้นหรือ”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูกเหล่าใด เธอไม่ได้ดม ไม่เคยดมแล้ว ย่อมไม่ดม
ทั้งการกำหนดว่า ‘เราพึงดม’ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอจะมีความพอใจ กำหนัด หรือ
รักใคร่ในกลิ่นเหล่านั้นหรือ”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นเหล่าใด เธอไม่ได้ลิ้ม ไม่เคยลิ้มแล้ว ย่อมไม่ลิ้ม ทั้งการ
กำหนดว่า ‘เราพึงลิ้ม’ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอจะมีความพอใจ กำหนัด หรือรักใคร่
ในรสเหล่านั้นหรือ”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายเหล่าใด เธอไม่ได้ถูกต้อง ไม่เคยถูกต้อง ย่อม
ไม่ถูกต้อง ทั้งการกำหนดว่า ‘เราพึงถูกต้อง’ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอจะมีความพอใจ
กำหนัด หรือรักใคร่ในโผฏฐัพพะเหล่านั้นหรือ”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเหล่าใด เธอไม่ได้รู้แจ้งไม่เคยรู้แจ้งแล้ว ย่อม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :100 }