เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 4. ฉันนวรรค 8. ทุติยเอชาสูตร

ไม่พึงกำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์
ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์
ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึง
กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
บุคคลกำหนดหมายสิ่งใด กำหนดหมายในสิ่งใด กำหนดหมายเพราะสิ่งใด
กำหนดหมายว่า ‘สิ่งใดของเรา’ สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยอาการอื่นจากที่กำหนดหมาย
นั้น คือ สัตว์โลกข้องอยู่ในภพ มีความเปลี่ยนแปลงโดยอาการอื่น ก็ยังยินดีภพ
อยู่นั่นเอง ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายมโน ไม่พึงกำหนดหมายในมโน ไม่พึงกำหนดหมายเพราะมโน
ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘มโนของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายธรรมารมณ์ ฯลฯ
มโนวิญญาณ ฯลฯ
มโนสัมผัส ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึง
กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
บุคคลกำหนดหมายสิ่งใด กำหนดหมายในสิ่งใด กำหนดหมายเพราะสิ่งใด
กำหนดหมายว่า ‘สิ่งใดของเรา’ สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยอาการอื่นจากที่กำหนดหมาย
นั้น คือ สัตว์โลกข้องอยู่ในภพ มีความเปลี่ยนแปลงโดยอาการอื่น ก็ยังยินดีภพ
อยู่นั่นเอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :93 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 4. ฉันนวรรค 10. ทุติยทวยสูตร

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่พึงกำหนดหมายแม้ขันธ์ ธาตุ และอายตนะเท่าที่มีอยู่
ไม่พึงกำหนดหมายในขันธ์ ธาตุ และอายตนะเท่าที่มีอยู่ ไม่พึงกำหนดหมายเพราะ
ขันธ์ ธาตุ และอายตนะเท่าที่มีอยู่ ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ขันธ์ ธาตุ และ
อายตนะเท่าที่มีอยู่นั้นของเรา’
บุคคลผู้ไม่กำหนดหมายอยู่อย่างนี้ย่อมไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่นก็
ไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ย่อมดับเฉพาะตนเอง รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ทุติยเอชาสูตรที่ 8 จบ

9. ปฐมทวยสูตร
ว่าด้วยธรรมคู่กัน สูตรที่ 1

[92] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมคู่กันแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงฟัง
ก็อะไรเล่าชื่อว่าธรรมคู่กัน
คือ (1) จักขุกับรูป (2) โสตะกับสัททะ (3) ฆานะกับคันธะ (4) ชิวหากับรส
(5) กายกับโผฏฐัพพะ (6) มโนกับธรรมารมณ์
นี้เรียกว่าธรรมคู่กัน
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าจักบอกเลิกธรรมคู่กันนั้น
แล้วบัญญัติธรรมคู่กันอย่างอื่นแทน’ คำพูดของผู้นั้นคงเป็นเพียงคำพูดเท่านั้น
ครั้นถูกถามเข้าก็คงตอบไม่ได้ และพึงถึงความลำบากอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเขาถูกถามในสิ่งอันมิใช่วิสัย”

ปฐมทวยสูตรที่ 9 จบ

10. ทุติยทวยสูตร
ว่าด้วยธรรมคู่กัน สูตรที่ 2

[93] “ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยธรรมคู่กันวิญญาณจึงเกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :94 }