เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 4. ฉันนวรรค 3. สังขิตตธัมมสูตร

2. สุญญตโลกสูตร
ว่าด้วยโลกว่าง

[85] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘โลกว่าง โลกว่าง’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
หนอจึงตรัสว่า ‘โลกว่าง’ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เพราะว่างจากอัตตาหรือจากสิ่งที่เนื่อง
ด้วยอัตตา ฉะนั้นจึงเรียกว่า ‘โลกว่าง’
ก็อะไรเล่าชื่อว่าว่างจากอัตตาหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
คือ จักขุว่างจากอัตตาหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา รูปว่างจากอัตตาหรือ
จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จักขุวิญญาณว่างจากอัตตาหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
จักขุสัมผัสว่างจากอัตตาหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์
ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ว่างจาก
อัตตาหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
อานนท์ เพราะว่างจากอัตตา หรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฉะนั้นเราจึง
เรียกว่า ‘โลกว่าง’

สุญญตโลกสูตรที่ 2 จบ

3. สังขิตตธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมโดยย่อ

[86] ท่านพระอานนท์นั่ง ณ ที่สมควร แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกไปอยู่คน
เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยง
หรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :78 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 4. ฉันนวรรค 3. สังขิตตธัมมสูตร

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“จักขุวิญญาณ ฯลฯ จักขุสัมผัส ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือ
ทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาสัมผัส ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :79 }