เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 3. คิลานวรรค 7. ทุติยอวิชชาปหานสูตร

โดยความไม่เที่ยงจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อรู้เห็นมโนโดยความไม่
เที่ยงจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เมื่อรู้เห็นธรรม ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ
มโนสัมผัส ... เมื่อรู้เห็นแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความไม่เที่ยงจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึง
เกิดขึ้น
ภิกษุ ภิกษุเมื่อรู้เห็นอย่างนี้แลจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น”

ปฐมอวิชชาปหานสูตรที่ 6 จบ

7. ทุติยอวิชชาปหานสูตร
ว่าด้วยการละอวิชชา สูตรที่ 2

[80] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรมอย่างหนึ่ง
ใด ธรรมอย่างหนึ่งนั้นมีอยู่หรือ”
“ภิกษุ ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรมอย่างหนึ่งใด ธรรม
อย่างหนึ่งนั้นมีอยู่”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรม
อย่างหนึ่งใด ธรรมอย่างหนึ่งนั้นคืออะไร”
“ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรมอย่างหนึ่งใด ธรรมอย่าง
หนึ่งนั้นคืออวิชชา”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเมื่อรู้เห็นอย่างไรจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น”
“ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า ‘ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น’ ครั้นเธอได้สดับ
อย่างนี้ว่า ‘ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น’ ก็รู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งธรรมทั้งปวงแล้ว
ก็กำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้วก็เห็นนิมิตทั้งปวงโดยอาการ
อื่น เห็นจักขุโดยอาการอื่น เห็นรูป ฯลฯ จักขุวิญญาณ ฯลฯ จักขุสัมผัส ... เห็น
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :73 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 3. คิลานวรรค 8. สัมพหุลภิกขุสูตร

เป็นปัจจัยโดยอาการอื่น ฯลฯ เห็นมโนโดยอาการอื่น ฯลฯ ธรรมารมณ์ ฯลฯ
มโนวิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ... เห็นแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยโดยอาการอื่น
ภิกษุ ภิกษุเมื่อรู้เห็นอย่างนี้แลจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น”

ทุติยอวิชชาปหานสูตรที่ 7 จบ

8. สัมพหุลภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุหลายรูป

[81] ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชกในโลกนี้ถามข้าพระองค์ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
พวกท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อต้องการอะไร’ ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ถูกถามอย่างนี้จึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย
พวกเราประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อกำหนดรู้ทุกข์’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ จึงตอบอย่างนี้ ชื่อว่า
พูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จหรือ
ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้างหรือที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าว
ต่อ ๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้
จึงตอบอย่างนี้ ชื่อว่าพูดตรงตามคำที่เราพูดไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ชื่อว่า
กล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ไม่มีที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมาจะ
เป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเธอทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในเราเพื่อกำหนดรู้
ทุกข์ ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกจะพึงถามเธอทั้งหลายว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกข์
ที่พวกท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อกำหนดรู้นั้นเป็นอย่างไร’
เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
‘ผู้มีอายุ จักขุเป็นทุกข์ พวกเราประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อกำหนด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :74 }