เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 3. คิลานวรรค 6. ปฐมอวิชชาปหานสูตร

ก็อะไรเล่าชื่อว่าเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น
คือ จักขุเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในจักขุนั้น รูปเป็นอนัตตา เธอพึง
ละความพอใจในรูปนั้น จักขุวิญญาณ ... จักขุสัมผัส ... เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
ฯลฯ มโน ... ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส ... แม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็
เป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น
ราธะ สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น”

ราธอนัตตสูตรที่ 5 จบ

6. ปฐมอวิชชาปหานสูตร
ว่าด้วยการละอวิชชา สูตรที่ 1

[79] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควรแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุละ
อวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรมอย่างหนึ่งใด ธรรมอย่างหนึ่งนั้นมีอยู่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น
เพราะละธรรมอย่างหนึ่งใด ธรรมอย่างหนึ่งนั้นมีอยู่”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรม
อย่างหนึ่งใด ธรรมอย่างหนึ่งนั้นคืออะไร”
“ภิกษุ ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรมอย่างหนึ่งใด ธรรม
อย่างหนึ่งนั้นคืออวิชชา”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเมื่อรู้เห็นอย่างไรจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น”
“ภิกษุ ภิกษุเมื่อรู้เห็นจักขุโดยความไม่เที่ยงจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น
เมื่อรู้เห็นรูป ฯลฯ จักขุวิญญาณ ฯลฯ จักขุสัมผัส ... เมื่อรู้เห็นแม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :72 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 3. คิลานวรรค 7. ทุติยอวิชชาปหานสูตร

โดยความไม่เที่ยงจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อรู้เห็นมโนโดยความไม่
เที่ยงจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เมื่อรู้เห็นธรรม ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ
มโนสัมผัส ... เมื่อรู้เห็นแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความไม่เที่ยงจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึง
เกิดขึ้น
ภิกษุ ภิกษุเมื่อรู้เห็นอย่างนี้แลจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น”

ปฐมอวิชชาปหานสูตรที่ 6 จบ

7. ทุติยอวิชชาปหานสูตร
ว่าด้วยการละอวิชชา สูตรที่ 2

[80] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรมอย่างหนึ่ง
ใด ธรรมอย่างหนึ่งนั้นมีอยู่หรือ”
“ภิกษุ ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรมอย่างหนึ่งใด ธรรม
อย่างหนึ่งนั้นมีอยู่”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรม
อย่างหนึ่งใด ธรรมอย่างหนึ่งนั้นคืออะไร”
“ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรมอย่างหนึ่งใด ธรรมอย่าง
หนึ่งนั้นคืออวิชชา”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเมื่อรู้เห็นอย่างไรจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น”
“ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า ‘ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น’ ครั้นเธอได้สดับ
อย่างนี้ว่า ‘ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น’ ก็รู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งธรรมทั้งปวงแล้ว
ก็กำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้วก็เห็นนิมิตทั้งปวงโดยอาการ
อื่น เห็นจักขุโดยอาการอื่น เห็นรูป ฯลฯ จักขุวิญญาณ ฯลฯ จักขุสัมผัส ... เห็น
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :73 }