เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 3. คิลานวรรค 5. ราธอนัตตสูตร

เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ก็ไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น
ราธะ สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น”

ราธอนิจจสูตรที่ 3 จบ

4. ราธทุกขสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงทุกขธรรมแก่พระราธะ

[77] “ราธะ สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น
คือ จักขุเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในจักขุนั้น รูปเป็นทุกข์ เธอพึงละ
ความพอใจในรูปนั้น จักขุวิญญาณ ... จักขุสัมผัส ... แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ เธอ
พึงละความพอใจในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ฯลฯ มโน ... ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ ...
มโนสัมผัส ... แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น
ราธะ สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น”

ราธทุกขสูตรที่ 4 จบ

5. ราธอนัตตสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงอนัตตธรรมแก่พระราธะ

[78] “ราธะ สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :71 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 3. คิลานวรรค 6. ปฐมอวิชชาปหานสูตร

ก็อะไรเล่าชื่อว่าเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น
คือ จักขุเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในจักขุนั้น รูปเป็นอนัตตา เธอพึง
ละความพอใจในรูปนั้น จักขุวิญญาณ ... จักขุสัมผัส ... เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
ฯลฯ มโน ... ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส ... แม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็
เป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น
ราธะ สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น”

ราธอนัตตสูตรที่ 5 จบ

6. ปฐมอวิชชาปหานสูตร
ว่าด้วยการละอวิชชา สูตรที่ 1

[79] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควรแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุละ
อวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรมอย่างหนึ่งใด ธรรมอย่างหนึ่งนั้นมีอยู่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น
เพราะละธรรมอย่างหนึ่งใด ธรรมอย่างหนึ่งนั้นมีอยู่”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรม
อย่างหนึ่งใด ธรรมอย่างหนึ่งนั้นคืออะไร”
“ภิกษุ ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรมอย่างหนึ่งใด ธรรม
อย่างหนึ่งนั้นคืออวิชชา”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเมื่อรู้เห็นอย่างไรจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น”
“ภิกษุ ภิกษุเมื่อรู้เห็นจักขุโดยความไม่เที่ยงจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น
เมื่อรู้เห็นรูป ฯลฯ จักขุวิญญาณ ฯลฯ จักขุสัมผัส ... เมื่อรู้เห็นแม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :72 }