เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 3. คิลานวรรค 3. ราธอนิจจสูตร

“ภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ฯลฯ แม้
ในมโน ฯลฯ แม้ในมโนวิญญาณ ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระ
ผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของภิกษุนั้นก็หลุดพ้นจาก
อาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น

ทุติยคิลานสูตรที่ 2 จบ

3. ราธอนิจจสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงอนิจจธรรมแก่พระราธะ

[76] ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาค
โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่
คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ราธะ สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น
คือ จักขุไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในจักขุนั้น รูปไม่เที่ยง เธอพึงละ
ความพอใจในรูปนั้น จักขุวิญญาณ ... จักขุสัมผัส ... แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง เธอ
พึงละความพอใจในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ฯลฯ ชิวหา ... กาย ... มโนไม่เที่ยง เธอพึงละ
ความพอใจในมโนนั้น ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส ... แม้ความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :70 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 3. คิลานวรรค 5. ราธอนัตตสูตร

เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ก็ไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น
ราธะ สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น”

ราธอนิจจสูตรที่ 3 จบ

4. ราธทุกขสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงทุกขธรรมแก่พระราธะ

[77] “ราธะ สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น
คือ จักขุเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในจักขุนั้น รูปเป็นทุกข์ เธอพึงละ
ความพอใจในรูปนั้น จักขุวิญญาณ ... จักขุสัมผัส ... แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ เธอ
พึงละความพอใจในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ฯลฯ มโน ... ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ ...
มโนสัมผัส ... แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น
ราธะ สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น”

ราธทุกขสูตรที่ 4 จบ

5. ราธอนัตตสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงอนัตตธรรมแก่พระราธะ

[78] “ราธะ สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :71 }