เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 3. คิลานวรรค 2. ทุติยคิลานสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ฯลฯ ข้าพระองค์
ติเตียนตนเองโดยศีลไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ ถ้าเธอติเตียนตนเองโดยศีลไม่ได้แล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะรำคาญ
ทุรนทุรายไปทำไม”
“ข้าพระองค์ยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่พระองค์ทรงแสดงเพื่อความหมดจดแห่งศีลเลย
พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ ถ้าเธอยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงเพื่อความหมดจดแห่งศีลแล้ว เมื่อ
เป็นเช่นนั้น เธอจะรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วประพฤติเพื่ออะไร”
“ข้าพระองค์จะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วเพื่อความดับสนิท
โดยไม่ยึดมั่น พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแล้ว ภิกษุ ที่เธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อความ
ดับสนิทโดยไม่ยึดมั่น เพราะว่าธรรมที่เราแสดงแล้วล้วนมีความมุ่งหมายเพื่อความ
ดับสนิทโดยไม่ยึดมั่น ภิกษุ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“โสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโน ... มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส
... แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :69 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 3. คิลานวรรค 3. ราธอนิจจสูตร

“ภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ฯลฯ แม้
ในมโน ฯลฯ แม้ในมโนวิญญาณ ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระ
ผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของภิกษุนั้นก็หลุดพ้นจาก
อาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น

ทุติยคิลานสูตรที่ 2 จบ

3. ราธอนิจจสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงอนิจจธรรมแก่พระราธะ

[76] ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาค
โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่
คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ราธะ สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น
คือ จักขุไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในจักขุนั้น รูปไม่เที่ยง เธอพึงละ
ความพอใจในรูปนั้น จักขุวิญญาณ ... จักขุสัมผัส ... แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง เธอ
พึงละความพอใจในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ฯลฯ ชิวหา ... กาย ... มโนไม่เที่ยง เธอพึงละ
ความพอใจในมโนนั้น ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส ... แม้ความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :70 }