เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 2. มิคชาลวรรค 7. อุปเสนอาสีวิสสูตร

6. สมิทธิโลกปัญหาสูตร
ว่าด้วยพระสมิทธิทูลถามปัญหาเรื่องโลก

[68] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘โลก โลก’ ด้วยเหตุเพียง
เท่าไรหนอจึงชื่อว่าโลก1หรือการบัญญัติว่าโลก”
“สมิทธิ จักขุ รูป จักขุวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณมีอยู่ในที่ใด
โลกหรือการบัญญัติว่าโลกก็มีอยู่ในที่นั้น ฯลฯ
ชิวหา ฯลฯ มโน ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณ
มีอยู่ในที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลกก็มีอยู่ในที่นั้น
สมิทธิ ส่วนจักขุ รูป จักขุวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณไม่มี
ในที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลกก็ไม่มีในที่นั้น ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ มโน ธรรมารมณ์
มโนวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณไม่มีในที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่า
โลกก็ไม่มีในที่นั้น”

สมิทธิโลกปัญหาสูตรที่ 6 จบ

7. อุปเสนอาสีวิสสูตร
ว่าด้วยพระอุปเสนะถูกพิษงู

[69] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอุปเสนะอยู่ที่เงื้อมเขาชื่อสัปป-
โสณฑิกะ ป่าสีตวัน เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น งูตัวหนึ่งได้หล่นลงมาที่กายของท่าน
พระอุปเสนะ ครั้งนั้น ท่านเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “มาเถิด ท่านทั้งหลาย
ช่วยกันยกกายของกระผมนี้ขึ้นเตียงแล้วหามออกไปข้างนอก ก่อนที่กายนี้จะเรี่ย
รายในที่นี้เหมือนกำแกลบ”
เมื่อท่านพระอุปเสนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรก็ได้กล่าวกับท่านว่า
“พวกเรายังไม่เห็นกายของท่านอุปเสนะเป็นอย่างอื่นหรืออินทรีย์ของท่านแปรผันไปเลย
เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านอุปเสนะยังพูดว่า ‘มาเถิด ท่านทั้งหลายช่วยกันยกกายของกระผม
นี้ขึ้นเตียงแล้วหามออกไปข้างนอก ก่อนที่กายนี้จะเรี่ยรายในที่นี้เหมือนกำแกลบ”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 2. มิคชาลวรรค 8. อุปวาณสันทิฏฐิกสูตร

ท่านพระอุปเสนะกล่าวว่า “ท่านสารีบุตร ผู้ใดพึงมีความคิดว่า ‘เราเป็นจักขุ’
หรือ ‘จักขุเป็นของเรา’ ฯลฯ ‘เราเป็นชิวหา’ หรือ ‘ชิวหาเป็นของเรา’ ฯลฯ
‘เราเป็นมโน’ หรือ ‘มโนเป็นของเรา’ ท่านสารีบุตร ความที่กายของผู้นั้นเป็นอย่าง
อื่นหรือความที่อินทรีย์ของผู้นั้นแปรผันพึงมีอย่างแน่นอน กระผมไม่มีความนึกคิด
เลยว่า ‘เราเป็นจักขุ’ หรือ ‘จักขุเป็นของเรา’ ฯลฯ ‘เราเป็นชิวหา’ หรือ ‘ชิวหา
เป็นของเรา’ ... ‘เราเป็นมโน’ หรือ ‘มโนเป็นของเรา’ ท่านสารีบุตร ความที่กาย
ของกระผมเป็นอย่างอื่นหรือความที่อินทรีย์ของกระผมแปรผัน จักมีได้อย่างไร”
จริงอย่างนั้น ท่านพระอุปเสนะได้ถอนอหังการ1 มมังการ2 และมานานุสัย (กิเลส
ที่นอนเนื่องคือความถือตัว) ได้เด็ดขาดนานมาแล้ว ฉะนั้นท่านพระอุปเสนะจึงไม่มี
ความคิดว่า “เราเป็นจักขุ” หรือ “จักขุเป็นของเรา” ฯลฯ “เราเป็นชิวหา” หรือ
“ชิวหาเป็นของเรา” ฯลฯ “เราเป็นมโน” หรือ “มโนเป็นของเรา”
ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นได้ยกกายของท่านพระอุปเสนะขึ้นเตียงแล้วหามออกไปข้าง
นอก ขณะนั้น กายของท่านพระอุปเสนะก็เรี่ยรายในที่นั้นเองเหมือนกำแกลบ

อุปเสนอาสีวิสสูตรที่ 7 จบ

8. อุปวาณสันทิฏฐิกสูตร
ว่าด้วยพระอุปวาณะทูลถามธรรมที่พึงเห็นเอง

[70] ครั้งนั้น ท่านพระอุปวาณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
ตรัสว่า ‘ธรรมเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ธรรมเป็นธรรมที่ผู้
ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระธรรมจึงชื่อว่าเป็น
ธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล3 ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”