เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 1.อวิชชาวรรค 10. ทุติยสัพพุปาทานปริยาทานสูตร

9. ปฐมสัพพุปาทานปริยาทานสูตร
ว่าด้วยธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวง สูตรที่ 1

[61] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวงแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวง เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม 3
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด อริยสาวกผู้ได้สดับเห็น
อยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา เมื่อ
เบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เพราะหลุดพ้น
จึงรู้ชัดว่า ‘เราครอบงำอุปาทานได้แล้ว’ ฯลฯ
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยมโนและ
ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม 3 ประการเป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ-
วิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา เมื่อ
เบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เพราะหลุดพ้น
จึงรู้ชัดว่า ‘เราครอบงำอุปาทานได้แล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวงเป็นอย่างนี้แล”

ปฐมสัพพุปาทานปริยาทานสูตรที่ 9 จบ

10. ทุติยสัพพุปาทานปริยาทานสูตร
ว่าด้วยธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวง สูตรที่ 2

[62] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวงแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :50 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 1.อวิชชาวรรค 10. ทุติยสัพพุปาทานปริยาทานสูตร

ธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวง เป็นอย่างไร
เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“รูป ฯลฯ จักขุวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“จักขุสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัยเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“โสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโน ... ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ
... มโนสัมผัส แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :51 }