เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 1.อวิชชาวรรค 8. สัพพุปาทานปริญญาสูตร

8. สัพพุปาทานปริญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทานทั้งปวง

[60] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทานทั้งปวง1แก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทานทั้งปวง เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม 3
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด อริยสาวกผู้ได้สดับเห็น
อยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา เมื่อ
เบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เพราะหลุดพ้น
จึงรู้ชัดว่า ‘เรากำหนดรู้อุปาทานได้แล้ว’
เพราะอาศัยโสตะและสัททะ โสตวิญญาณจึงเกิด ฯลฯ
เพราะอาศัยฆานะและคันธะ ฯลฯ
เพราะอาศัยชิวหาและรส ฯลฯ
เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ฯลฯ
เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม
3 ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด อริยสาวกผู้ได้สดับ
เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในเวทนา เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น
เพราะหลุดพ้นจึงรู้ชัดว่า ‘เรากำหนดรู้อุปาทานได้แล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทานทั้งปวงเป็นอย่างนี้แล”

สัพพุปาทานปริญญาสูตรที่ 8 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 1.อวิชชาวรรค 10. ทุติยสัพพุปาทานปริยาทานสูตร

9. ปฐมสัพพุปาทานปริยาทานสูตร
ว่าด้วยธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวง สูตรที่ 1

[61] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวงแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวง เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม 3
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด อริยสาวกผู้ได้สดับเห็น
อยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา เมื่อ
เบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เพราะหลุดพ้น
จึงรู้ชัดว่า ‘เราครอบงำอุปาทานได้แล้ว’ ฯลฯ
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยมโนและ
ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม 3 ประการเป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ-
วิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา เมื่อ
เบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เพราะหลุดพ้น
จึงรู้ชัดว่า ‘เราครอบงำอุปาทานได้แล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวงเป็นอย่างนี้แล”

ปฐมสัพพุปาทานปริยาทานสูตรที่ 9 จบ

10. ทุติยสัพพุปาทานปริยาทานสูตร
ว่าด้วยธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวง สูตรที่ 2

[62] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวงแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :50 }