เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [8. คามณิสังยุต] 12. ราสิยสูตร

บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ เป็นอยู่เศร้าหมองนี้ควรติเตียนโดย 2 สถานนี้ ควร
สรรเสริญโดยสถานเดียวนี้ (2)
บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ เป็นอยู่เศร้าหมอง ทำตนให้เดือดร้อนกระวนกระวาย
บรรลุกุศลธรรม และทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่า
ธรรมของมนุษย์ ควรติเตียนโดยสถานเดียว ควรสรรเสริญโดย 2 สถาน
ควรติเตียนโดยสถานเดียว คืออะไร
คือ ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘ทำตนให้เดือดร้อนกระวนกระวาย’
ควรสรรเสริญโดย 2 สถาน อะไรบ้าง คือ
1. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ 1 นี้ว่า ‘บรรลุกุศลธรรม’
2. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ 2 นี้ว่า ‘ทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐ
อันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์’
บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ เป็นอยู่เศร้าหมองนี้ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ ควร
สรรเสริญโดย 2 สถานนี้ (3)
ธรรม 3 ประการที่ผู้ปฏิบัติพึงเห็นชัดด้วยตนเอง
ผู้ใหญ่บ้าน ธรรม 3 ประการนี้ที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่คร่ำครึ ไม่
ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. บุคคลผู้มีราคะย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เพื่อเบียดเบียนทั้ง 2 ฝ่ายบ้าง เพราะราคะเป็นเหตุ เมื่อละราคะได้แล้ว
เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง 2 ฝ่ายบ้าง นี้เป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัด
ด้วยตนเอง ไม่คร่ำครึ ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
2. บุคคลผู้มีโทสะย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เพื่อเบียดเบียนทั้ง 2 ฝ่ายบ้าง เพราะโทสะเป็นเหตุ เมื่อละโทสะได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :429 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [8. คามณิสังยุต] 13. ปาฏลิยสูตร

เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง 2 ฝ่ายบ้าง นี้เป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัด
ด้วยตนเอง ไม่คร่ำครึ ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
3. บุคคลผู้มีโมหะย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เพื่อเบียดเบียนทั้ง 2 ฝ่ายบ้าง เพราะโมหะเป็นเหตุ เมื่อละโมหะได้แล้ว
เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง 2 ฝ่ายบ้าง นี้เป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัด
ด้วยตนเอง ไม่คร่ำครึ ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
ธรรม 3 ประการนี้ที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่คร่ำครึ ไม่ประกอบ
ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ผู้ใหญ่บ้านชื่อราสิยะได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ฯลฯ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

ราสิยสูตรที่ 12 จบ

13. ปาฏลิยสูตร
ว่าด้วยผู้ใหญ่บ้านชื่อปาฏลิยะ

[365] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่นิคมของชาวโกฬิยะชื่ออุตตระ
ในแคว้นโกฬิยะ ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่อปาฏลิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินมาว่า ‘พระสมณโคดมทรงรู้จักมารยา’
สมณพราหมณ์ที่กล่าวว่า ‘พระสมณโคดมทรงรู้จักมารยา’ ชื่อว่าพูดตรงตามที่
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จหรือ ชื่อว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :430 }