เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [8. คามณิสังยุต] 11. คันธภกสูตร

สมเหตุสมผล ไม่มีที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้
เพราะว่าทองและเงินไม่สมควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน
ไม่รับทองและเงิน สมณศากยบุตรห้ามแก้วมณีและทอง ปราศจากทองและเงิน
ผู้ใหญ่บ้าน ทองและเงินควรแก่ผู้ใด กามคุณ 5 ก็ควรแก่ผู้นั้น กามคุณ 5
ควรแก่ผู้ใด (ทองและเงินก็ควรแก่ผู้นั้น) ผู้ใหญ่บ้าน เราให้เข้าใจเรื่องนี้โดยส่วน
เดียวว่า ‘ไม่ใช่ธรรมของสมณะ ไม่ใช่ธรรมของศากยบุตร’
อนึ่ง เรากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้ต้องการหญ้าพึงแสวงหาหญ้า ผู้ต้องการไม้พึง
แสวงหาไม้ ผู้ต้องการเกวียนพึงแสวงหาเกวียน ผู้ต้องการบุรุษพึงแสวงหาบุรุษ’
แต่เราไม่กล่าวเลยว่า ‘พึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงินโดยประการใด ๆ”

มณิจูฬกสูตรที่ 10 จบ

11. คันธภกสูตร
ว่าด้วยผู้ใหญ่บ้านชื่อคันธภกะ

[363] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อุรุเวลกัปปนิคมของชาว
มัลละ แคว้นมัลละ ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่อคันธภกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรง
แสดงเหตุเกิดและความดับทุกข์แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ผู้ใหญ่บ้าน เราพึงปรารภอดีตกาล แสดงเหตุเกิดทุกข์และความดับทุกข์แก่
ท่านว่า ‘อดีตกาลได้มีแล้วอย่างนี้’ ความสงสัยความเคลือบแคลงในเรื่องนั้นพึงมี
แก่ท่าน
ถ้าเราพึงปรารภอนาคตกาล แสดงเหตุเกิดทุกข์และความดับทุกข์แก่ท่านว่า
‘อนาคตกาลจักมีอย่างนี้’ ความเคลือบแคลงความสงสัยในเรื่องนั้นพึงมีแก่ท่าน
อนึ่ง เรานั่งอยู่ในที่นี้แล จักแสดงเหตุเกิดและความดับทุกข์แก่ท่านผู้นั่งอยู่ใน
ที่นี้เหมือนกัน ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :416 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [8. คามณิสังยุต] 11. คันธภกสูตร

ผู้ใหญ่บ้านชื่อคันธภกะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
ดังนี้ว่า
“ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร มีอยู่ไหม ที่โสกะ (ความ
เศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ)
และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวล-
กัปปนิคมถูกประหาร จองจำ ปรับไหม หรือถูกตำหนิโทษ”
“มีอยู่ พระพุทธเจ้าข้า ที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
พึงเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมถูกประหาร จองจำ
ปรับไหม หรือถูกตำหนิโทษ”
“ผู้ใหญ่บ้าน อนึ่ง มีอยู่ไหม ที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
ไม่พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมถูกประหาร จองจำ ปรับ
ไหม หรือถูกตำหนิโทษ”
“มีอยู่ พระพุทธเจ้าข้า ที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสไม่พึง
เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมถูกประหาร จองจำ
ปรับไหม หรือถูกตำหนิโทษ”
“ผู้ใหญ่บ้าน อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาสพึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมบางพวกถูกประหาร
จองจำ ปรับไหม หรือถูกตำหนิโทษ
อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
ไม่พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมบางพวกถูกประหาร
จองจำ ปรับไหม หรือถูกตำหนิโทษ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสพึง
เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมเหล่าใดถูกประหาร
จองจำ ปรับไหม หรือถูกตำหนิโทษ ก็เพราะข้าพระองค์มีฉันทราคะในหมู่มนุษย์
ชาวอุรุเวลกัปปนิคมเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :417 }