เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [8. คามณิสังยุต] 8. สังขธมสูตร

บาปกรรมนั้นก็หามิได้ เธอพิจารณาอย่างนี้แล้วย่อมละการพูดเท็จนั้นและเว้นขาด
จากการพูดเท็จต่อไป
เขาละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมนั้นได้ด้วยประการฉะนี้
สาวกนั้นละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ละการลักทรัพย์ เว้นขาด
จากการลักทรัพย์ ละการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ ละการพูดคำส่อเสียด เว้นขาดจากการพูด
คำส่อเสียด ละการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ ละการพูดเพ้อเจ้อ
เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ละความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของ
เขา ละความประทุษร้ายที่เกิดจากพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท ละมิจฉาทิฏฐิ เป็น
สัมมาทิฏฐิ
อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจากพยาบาทอย่างนี้
ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ 1 ... ทิศที่ 2 ... ทิศ
ที่ 3 ... ทิศที่ 4 ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่ว
ทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ผู้ใหญ่บ้าน กรรมที่ทำพอประมาณในเมตตา-
เจโตวิมุตติที่บุคคลอบรมแล้วอย่างนี้จะไม่เหลืออยู่ในรูปาวจรและอรูปาวจรเลย
เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์ผู้แข็งแรงพึงให้ได้ยินตลอดทิศทั้ง 4 ได้โดยไม่ยาก
ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก
พยาบาทอย่างนี้ ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีกรุณาจิต ฯลฯ
มีมุทิตาจิต ฯลฯ
มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ 1 ... ทิศที่ 2 ... ทิศที่ 3 ... ทิศที่ 4 ...
ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน
ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน
อยู่ ผู้ใหญ่บ้าน กรรมที่ทำพอประมาณในอุเบกขาเจโตวิมุตติที่บุคคลอบรมแล้ว
ทำให้มากแล้วอย่างนี้จะไม่เหลืออยู่ในรูปาวจรและอรูปาวจรเลย เปรียบเหมือนคน
เป่าสังข์ผู้แข็งแรงพึงให้ได้ยินตลอดทิศทั้ง 4 ได้โดยไม่ยาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :411 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [8. คามณิสังยุต] 9. กุลสูตร

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตร สาวกของ
นิครนถ์ได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ฯลฯ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

สังขธมสูตรที่ 8 จบ

9. กุลสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้ตระกูลคับแค้น

[361] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงเมืองนาฬันทา ทราบว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ
ปาวาริกัมพวัน เขตเมืองนาฬันทานั้น
สมัยนั้น เมืองนาฬันทาเกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนมีความเป็นอยู่
แร้นแค้น ใช้สลากปันส่วนซื้ออาหาร ล้มตายกันกระดูกขาวเกลื่อน สมัยนั้น
นิครนถ์ นาฏบุตรอาศัยอยู่ในหมู่บ้านนาฬันทาพร้อมด้วยนิครนถบริษัทหมู่ใหญ่
ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตร สาวกของนิครนถ์ เข้าไปหานิครนถ์
นาฏบุตรถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร นิครนถ์ นาฏบุตรได้กล่าวกับผู้ใหญ่บ้าน
ชื่ออสิพันธกบุตรดังนี้ว่า “มาเถิด ผู้ใหญ่บ้าน ท่านจงโต้วาทะกับพระสมณโคดม เมื่อ
เป็นเช่นนี้ กิตติศัพท์อันงามของท่านก็จักฟุ้งขจรไปว่า ‘ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตร
ได้โต้วาทะกับพระสมณโคดมผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้”
ผู้ใหญ่บ้านถามว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะโต้วาทะกับพระสมณโคดมผู้มีฤทธิ์
มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้อย่างไร”
นิครนถ์ นาฏบุตรกล่าวว่า “มาเถิดผู้ใหญ่บ้าน ท่านจงเข้าไปหาพระสมณโคดม
ถึงที่อยู่ แล้วกล่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคย่อมทรงสรรเสริญความเอ็นดู
ทรงสรรเสริญความรักษา ทรงสรรเสริญความอนุเคราะห์แก่ตระกูลทั้งหลายโดย
ประการเป็นอันมากมิใช่หรือ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :412 }