เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [8. คามณิสังยุต] 7. เขตตูปทสูตร

“ผู้ใหญ่บ้าน เราแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง
และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายของเรา เปรียบเหมือนคหบดีชาวนา
หว่านพืชในนาชนิดดีโน้นฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุและภิกษุณีเหล่านั้น
มีเราเป็นที่พึ่ง มีเราเป็นที่อาศัย มีเราเป็นที่ต้านทาน มีเราเป็นสรณะอยู่
เราแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงาม
ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
แก่อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลายของเรา เปรียบเหมือนคหบดีชาวนาหว่านพืชในนา
ชนิดปานกลางโน้นฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอุบาสกและอุบาสิกาเหล่านั้น
มีเราเป็นที่พึ่ง มีเราเป็นที่อาศัย มีเราเป็นที่ต้านทาน มีเราเป็นสรณะอยู่
และเราแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมี
ความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์
ครบถ้วนแก่อัญเดียรถีย์ สมณะ พราหมณ์ และปริพาชกทั้งหลายของเรา เปรียบ
เหมือนคหบดีชาวนาหว่านพืชในนาชนิดเลวโน้น ซึ่งมีดินแข็ง มีดินเค็ม พื้นดินเลว
ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอัญเดียรถีย์ สมณะ พราหมณ์ และปริพาชก
เหล่านั้นพึงรู้ธรรมแม้บทเดียว ความรู้นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความ
สุขแก่พวกเขาสิ้นกาลนาน
เปรียบการแสดงธรรมกับการตักน้ำใส่โอ่งน้ำ
ผู้ใหญ่บ้าน เปรียบเหมือนบุรุษมีโอ่งน้ำ 3 ใบ คือ โอ่งน้ำใบหนึ่งไม่มีรอยร้าว
น้ำซึมไหลออกไม่ได้ ใบหนึ่งไม่มีรอยร้าวแต่น้ำซึมไหลออกได้ ใบหนึ่งมีรอยร้าว
น้ำซึมไหลออกได้ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษโน้นประสงค์จะใส่น้ำ พึง
ใส่ในโอ่งน้ำใบไหนก่อน คือ โอ่งน้ำใบที่ไม่มีรอยร้าวน้ำซึมไหลออกไม่ได้ ใบที่ไม่มี
รอยร้าวแต่น้ำซึมไหลออกได้ หรือใบที่มีรอยร้าวน้ำซึมไหลออกได้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษโน้นประสงค์จะใส่น้ำ พึงใส่ในโอ่งน้ำใบที่ไม่มี
รอยร้าวน้ำซึมไหลออกไม่ได้ก่อน แล้วใส่ในโอ่งน้ำใบที่ไม่มีรอยร้าวแต่น้ำซึมไหล
ออกได้ แล้วใส่บ้าง ไม่ใส่บ้าง ในโอ่งน้ำใบที่มีรอยร้าวน้ำซึมไหลออกได้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะที่สุดก็จักเป็นน้ำใช้ล้างสิ่งของ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :405 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [8. คามณิสังยุต] 8. สังขธมสูตร

“ผู้ใหญ่บ้าน อุปมานั้นฉันใด อุปไมยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เราแสดงธรรมมี
ความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศ
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุและภิกษุณี
ทั้งหลายของเรา เปรียบเหมือนบุรุษใส่น้ำในโอ่งน้ำใบที่ไม่มีรอยร้าว น้ำซึมไหลออก
ไม่ได้ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุและภิกษุณีเหล่านั้นมีเราเป็นที่พึ่ง มี
เราเป็นที่อาศัย มีเราเป็นที่ต้านทาน มีเราเป็นสรณะอยู่
เราแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงาม
ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
แก่อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลายของเรา เปรียบเหมือนบุรุษใส่น้ำในโอ่งน้ำใบที่ไม่มี
รอยร้าว แต่น้ำซึมไหลออกได้ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอุบาสกและอุบาสิกา
เหล่านั้นมีเราเป็นที่พึ่ง มีเราเป็นที่อาศัย มีเราเป็นที่ต้านทาน มีเราเป็นสรณะอยู่
เราแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงาม
ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
แก่อัญเดียรถีย์ สมณะ พราหมณ์ และปริพาชกทั้งหลายของเรา เปรียบเหมือน
บุรุษใส่น้ำในโอ่งน้ำใบที่มีรอยร้าว น้ำซึมไหลออกได้ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
อัญเดียรถีย์ สมณะ พราหมณ์ และปริพาชกเหล่านั้นพึงรู้ธรรมแม้บทเดียว
ความรู้นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขแก่พวกเขาสิ้นกาลนาน
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตรได้กราบทูล
ว่า“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอ
พระผู้มีพระภาค จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้น
ไปจนตลอดชีวิต”

เขตตูปมสูตรที่ 7 จบ

8. สังขธมสูตร
ว่าด้วยคนเป่าสังข์

[360] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกัมพวัน เขต
เมืองนาฬันทา ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตรผู้เป็นสาวกของนิครนถ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :406 }