เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [7. จิตตสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่
ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค’
จักถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’
จักถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวกของ
พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่
อริยบุคคล 4 คู่ คือ 8 บุคคล พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้เป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’
อนึ่ง ไทยธรรมทุกอย่างในตระกูล จักเป็นของไม่แบ่งแยกกับท่านผู้มีศีล1 มี
ธรรมอันงาม พวกท่านพึงศึกษาอย่างนี้”
จิตตคหบดีครั้นชักชวนมิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
พระธรรม พระสงฆ์ และในการบริจาคทานแล้วก็ตาย

คิลานทัสสนสูตรที่ 10 จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

1. สัญโญชนสูตร 2. ปฐมอิสิทัตตสูตร
3. ทุติยอิสิทัตตสูตร 4. มหกปาฏิหาริยสูตร
5. ปฐมกามภูสูตร 6. ทุติยกามภูสูตร
7. โคทัตตสูตร 8. นิคัณฐนาฏปุตตสูตร
9. อเจลกัสสปสูตร 10. คิลานทัสสนสูตร

จิตตสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [8. คามณิสังยุต] 1. จัณฑสูตร

8. คามณิสังยุต
1. จัณฑสูตร
ว่าด้วยผู้ใหญ่บ้านชื่อจัณฑะ

[353] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่อจัณฑะ (ดุร้าย) เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้คนบางคนในโลกนี้ถึงความนับว่า
‘เป็นคนดุร้าย เป็นคนดุร้าย’ อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้คนบางคนในโลกนี้
ถึงความนับว่า ‘เป็นคนสงบเสงี่ยม เป็นคนสงบเสงี่ยม”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ผู้ใหญ่บ้าน คนบางคนในโลกนี้ยังละราคะไม่ได้
เพราะละราคะไม่ได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธได้ เมื่อคนอื่นยั่วให้โกรธ ย่อมแสดงความ
โกรธให้ปรากฏ เขาจึงถึงความนับว่า ‘เป็นคนดุร้าย’
ละโทสะไม่ได้ เพราะละโทสะไม่ได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธได้ เมื่อคนอื่นยั่วให้โกรธ
ย่อมแสดงความโกรธให้ปรากฏ เขาจึงถึงความนับว่า ‘เป็นคนดุร้าย’
ละโมหะไม่ได้ เพราะละโมหะไม่ได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธได้ เมื่อคนอื่นยั่วให้โกรธ
ย่อมแสดงความโกรธให้ปรากฏ เขาจึงถึงความนับว่า ‘เป็นคนดุร้าย’
ผู้ใหญ่บ้าน นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้คนบางคนในโลกนี้ถึงความนับว่า
‘เป็นคนดุร้าย เป็นคนดุร้าย’
ผู้ใหญ่บ้าน อนึ่ง คนบางคนในโลกนี้ละราคะได้แล้ว เพราะละราคะได้ คนอื่น
จึงยั่วให้โกรธไม่ได้ เมื่อคนอื่นยั่วให้โกรธ ย่อมไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ เขา
จึงถึงความนับว่า ‘เป็นคนสงบเสงี่ยม’
ละโทสะได้แล้ว เพราะละโทสะได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธไม่ได้ เมื่อคนอื่นยั่วให้
โกรธ ย่อมไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ เขาจึงถึงความนับว่า ‘เป็นคนสงบเสงี่ยม’
ละโมหะได้แล้ว เพราะละโมหะได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธไม่ได้ เมื่อคนอื่นยั่วให้
โกรธ ย่อมไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ เขาจึงถึงความนับว่า ‘เป็นคนสงบเสงี่ยม’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :394 }