เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [7. จิตตสังยุต] 10. คิลานทัสสนสูตร

เมื่อจิตตคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว อเจลกัสสปะได้กล่าวกับจิตตคหบดีดังนี้ว่า
“ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว
เพราะในการเข้าถึงความเป็นอุบาสก คฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวห่มขาวจักบรรลุญาณทัสสนะ
ที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ เป็นธรรมเครื่องอยู่ผาสุกได้
คหบดี เราพึงได้บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้”
ต่อมา จิตตคหบดีได้พาอเจลกัสสปะเข้าไปหาภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายถึงที่
อยู่แล้ว ได้เรียนถามภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
อเจลกัสสปะนี้เคยเป็นสหายเก่าเมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์ของกระผม ขอพระเถระ
ทั้งหลายโปรดบรรพชาอุปสมบทให้อเจลกัสสปะนี้เถิด กระผมจักบำรุงเธอด้วยจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร”
อเจลกัสสปะได้บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้แล้ว และท่านพระกัสสปะ
บวชแล้วไม่นาน ก็หลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกาย
และใจอยู่ ไม่นานนักได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์
ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ท่านพระกัสสปะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

อเจลกัสสปสูตรที่ 9 จบ

10. คิลานทัสสนสูตร
ว่าด้วยการเยี่ยมผู้ป่วย

[352] สมัยนั้น จิตตคหบดีเจ็บป่วยได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น
เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในอาราม เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในป่า เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้
เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นหญ้าเป็นโอสถและที่ต้นไม้เจ้าป่าจำนวนมากมาประชุมพร้อม
กันแล้ว ได้กล่าวกับจิตตคหบดีดังนี้ว่า
“คหบดี ท่านจงตั้งความปรารถนาว่า ‘ขอเราพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิใน
อนาคตกาลเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :391 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [7. จิตตสังยุต] 10. คิลานทัสสนสูตร

เมื่อพวกเทวดากล่าวอย่างนี้แล้ว จิตตคหบดีจึงกล่าวกับเทวดาเหล่านั้นดังนี้ว่า
“แม้ความปรารถนาเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้นก็ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน บุคคลจำต้องละไป”
เมื่อจิตตคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว พวกมิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตของ
จิตตคหบดีได้กล่าวดังนี้ว่า “ข้าแต่บุตรนาย ท่านจงตั้งสติไว้ อย่าเพ้อไป”
“ข้าพเจ้าพูดอะไรไป ที่ทำให้พวกท่านเตือนข้าพเจ้าว่า ‘ข้าแต่บุตรนาย ท่าน
จงตั้งสติไว้ อย่าเพ้อไป”
“ข้าแต่บุตรนาย ท่านพูดว่า ‘แม้ความปรารถนาเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้นก็
ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน บุคคลจำต้องละไป”
“ก็จริงอย่างนั้น พวกเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในอาราม เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในป่า
เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้ เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นหญ้าเป็นโอสถและที่ต้นไม้เจ้าป่า
กล่าวกับข้าพเจ้าว่า ‘คหบดี ท่านจงตั้งความปรารถนาว่า ‘ขอเราพึงเป็นพระเจ้า
จักรพรรดิในอนาคตกาลเถิด’ ข้าพเจ้าได้กล่าวกับเทวดาเหล่านั้นว่า ‘แม้ความ
ปรารถนาเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้นก็ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน บุคคลจำต้องละไป”
“ข้าแต่บุตรนาย เทวดาเหล่านั้นเห็นอำนาจประโยชน์อะไรจึงกล่าวว่า ‘คหบดี
ท่านจงตั้งความปรารถนาว่า ‘ขอเราพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในอนาคตกาลเถิด”
“เทวดาเหล่านั้นคิดว่า ‘จิตตคหบดีนี้มีศีล มีธรรมอันงาม ถ้าเธอจักตั้งความ
ปรารถนาว่า ‘ขอเราพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในอนาคตกาล’ การตั้งความปรารถนา
ในใจของเธอผู้มีศีลนี้จักสำเร็จได้เพราะศีลบริสุทธิ์ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในธรรมจักตาม
เพิ่มให้กำลัง(แก่)ผู้ประพฤติธรรม เทวดาเหล่านี้เมื่อเห็นอำนาจประโยชน์จึงกล่าวว่า
‘คหบดี ท่านจงตั้งความปรารถนาว่า ‘ขอเราพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในอนาคต-
กาลเถิด’ ข้าพเจ้าได้กล่าวกับเทวดาเหล่านั้นว่า ‘แม้ความปรารถนาเป็นพระเจ้า
จักรพรรดินั้นก็ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน บุคคลจำต้องละไป”
“ข้าแต่บุตรนาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านจงกล่าวสอนพวกข้าพเจ้าบ้าง”
“เพราะฉะนั้นแล พวกท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
‘พวกเราจักถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :392 }