เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [7. จิตตสังยุต] 9. อเจลกัสสปสูตร

ที่สมควร นิครนถ์ นาฏบุตรได้ถามจิตตคหบดีดังนี้ว่า “คหบดี ท่านเชื่อหรือว่า
พระสมณโคดมมีสมาธิที่ไม่มีวิตกวิจาร มีความดับวิตกวิจาร”
จิตตคหบดีตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ผมไม่เชื่อพระผู้มีพระภาคในข้อนี้ว่า ‘มี
สมาธิที่ไม่มีวิตกวิจาร มีความดับวิตกวิจาร”
เมื่อจิตตคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว นิครนถ์ นาฏบุตรแลดูบริษัทของตนแล้วได้
กล่าวว่า “ขอท่านผู้เจริญทั้งหลายจงพิจารณาเรื่องนี้ตราบที่จิตตคหบดีนี้ยังเป็นคน
ตรง ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เขาเข้าใจวิตกวิจารว่าดับได้ ก็เข้าใจว่าใช้ข่ายปิดกั้น
ลมได้ หรือเขาเข้าใจวิตกวิจารว่าดับได้ ก็เข้าใจกระแสแม่น้ำคงคาว่าใช้กำมือของ
ตนปิดกั้นได้”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ญาณ
หรือศรัทธา อย่างไหนประณีตกว่ากัน”
“คหบดี ญาณนั่นแลประณีตกว่าศรัทธา”
“ท่านผู้เจริญ ผมสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ตราบเท่าที่ต้องการ เพราะวิตก
วิจารสงบระงับไป ฯลฯ ผมบรรลุทุติยฌานตราบเท่าที่ต้องการ เพราะปีติจาง
คลายไป ฯลฯ ผมบรรลุตติยฌานตราบเท่าที่ต้องการ เพราะละสุขได้ ฯลฯ ผม
บรรลุจตุตถฌานตราบเท่าที่ต้องการ
ท่านผู้เจริญ เมื่อรู้เห็นอย่างนี้ ผมจักไม่เชื่อใครอื่นไม่ว่าสมณะหรือพราหมณ์ว่า
‘มีสมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีความดับวิตกวิจาร”
เมื่อจิตตคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว นิครนถ์ นาฏบุตรแลดูบริษัทของตนแล้ว
ได้กล่าวดังนี้ว่า “ขอท่านผู้เจริญทั้งหลายจงพิจารณาความข้อนี้ตราบที่จิตตคหบดีนี้
เป็นคนไม่ตรง โอ้อวด มีมารยา”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ผมทราบคำที่ท่านกล่าวเดี๋ยวนี้เองว่า
‘ขอท่านผู้เจริญทั้งหลายจงพิจารณาเรื่องนี้ตราบที่จิตตคหบดีนี้ยังเป็นคนตรง ไม่โอ้อวด
ไม่มีมารยา และผมก็ทราบคำที่ท่านกล่าวเดี๋ยวนี้เองว่า ‘ขอท่านผู้เจริญทั้งหลาย
จงพิจารณาเรื่องนี้ตราบที่จิตตคหบดีนี้เป็นคนไม่ตรง โอ้อวด มีมารยา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :388 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [7. จิตตสังยุต] 9. อเจลกัสสปสูตร

ท่านผู้เจริญ ถ้าคำพูดครั้งแรกของท่านถูก คำพูดครั้งหลังของท่านก็ผิด แต่
ถ้าคำพูดครั้งหลังของท่านถูก คำพูดครั้งแรกของท่านก็ผิด ปัญหาที่ประกอบด้วย
เหตุ 10 ข้อนี้มาถึงท่าน เมื่อท่านทราบเนื้อความของปัญหาเหล่านั้น ก็พึงบอก
ผมกับนิครนถบริษัท
ปัญหา 10 ข้อ นี้คือ

1. ปัญหา 1 อุทเทส 1 เวยยากรณ์ 1
2. ปัญหา 2 อุทเทส 2 เวยยากรณ์ 2
3. ปัญหา 3 อุทเทส 3 เวยยากรณ์ 3
4. ปัญหา 4 อุทเทส 4 เวยยากรณ์ 4
5. ปัญหา 5 อุทเทส 5 เวยยากรณ์ 5
6. ปัญหา 6 อุทเทส 6 เวยยากรณ์ 6
7. ปัญหา 7 อุทเทส 7 เวยยากรณ์ 7
8. ปัญหา 8 อุทเทส 8 เวยยากรณ์ 8
9. ปัญหา 9 อุทเทส 9 เวยยากรณ์ 9
10. ปัญหา 10 อุทเทส 10 เวยยากรณ์ 10”

ครั้นจิตตคหบดีถามปัญหาที่ประกอบด้วยเหตุ 10 ข้อนี้กับนิครนถ์ นาฏบุตร
แล้วก็ลุกขึ้นจากอาสนะแล้วจากไป

นิคัณฐนาฏปุตตสูตรที่ 8 จบ

9. อเจลกัสสปสูตร
ว่าด้วยอเจลกัสสปะ

[351] สมัยนั้น อเจลกัสสปะผู้เคยเป็นสหายเก่าเมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์ของ
จิตตคหบดีไปถึงเมืองมัจฉิกาสัณฑ์ จิตตคหบดีได้ยินข่าวว่า “อเจลกัสสปะผู้เคย
เป็นสหายเก่าเมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์ของเรา ได้มาถึงเมืองมัจฉิกาสัณฑ์” จึงเข้าไปหา
อเจลกัสสปะถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :389 }