เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [7. จิตตสังยุต] 8. นิคัณฐนาฏปุตตสูตร

ว่างจากโทสะ ว่างจากโมหะ ราคะชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องกังวล โทสะชื่อว่ากิเลส
เป็นเครื่องกังวล โมหะชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องกังวล กิเลสเหล่านั้นภิกษุขีณาสพละได้
แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
อากิญจัญญาเจโตวิมุตติมีประมาณเท่าไร เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบบัณฑิตกล่าว
ว่า เลิศกว่าอากิญจัญญาเจโตวิมุตติเหล่านั้น เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบนั้นว่างจาก
ราคะ ว่างจากโทสะ ว่างจากโมหะ ราคะชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องกระทำนิมิต โทสะ
ชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องกระทำนิมิต โมหะชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องกระทำนิมิต กิเลส
เหล่านั้นภิกษุขีณาสพละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอน
โคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
อนิมิตตาเจโตวิมุตติมีประมาณเท่าไร เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบบัณฑิตกล่าวว่า
เลิศกว่าอนิมิตตาเจโตวิมุตติเหล่านั้น เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบนั้นว่างจากราคะ ว่าง
จากโทสะ ว่างจากโมหะ ฯลฯ ท่านผู้เจริญ เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึง
มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ เหตุนั้นเป็นอย่างนี้แล”
ท่านพระโคทัตตะกล่าวว่า “คหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้วที่
ปัญญาจักษุของท่านหยั่งลงในพระพุทธพจน์ที่ลึกซึ้ง”

โคทัตตสูตรที่ 7 จบ

8. นิคัณฐนาฏปุตตสูตร
ว่าด้วยนิครนถ์ นาฏบุตร

[350] สมัยนั้น นิครนถ์ นาฏบุตรไปถึงเมืองมัจฉิกาสัณฑ์ พร้อมด้วย
นิครนถบริษัทจำนวนมาก จิตตคหบดีได้ยินข่าวว่า “นิครนถ์ นาฏบุตรมาถึงเมือง
มัจฉิกาสัณฑ์ พร้อมด้วยนิครนถบริษัทหลายคน”
ครั้งนั้น จิตตคหบดีพร้อมด้วยอุบาสกหลายคนเข้าไปหานิครนถ์ นาฏบุตร
ถึงที่อยู่ แล้วได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :387 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [7. จิตตสังยุต] 9. อเจลกัสสปสูตร

ที่สมควร นิครนถ์ นาฏบุตรได้ถามจิตตคหบดีดังนี้ว่า “คหบดี ท่านเชื่อหรือว่า
พระสมณโคดมมีสมาธิที่ไม่มีวิตกวิจาร มีความดับวิตกวิจาร”
จิตตคหบดีตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ผมไม่เชื่อพระผู้มีพระภาคในข้อนี้ว่า ‘มี
สมาธิที่ไม่มีวิตกวิจาร มีความดับวิตกวิจาร”
เมื่อจิตตคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว นิครนถ์ นาฏบุตรแลดูบริษัทของตนแล้วได้
กล่าวว่า “ขอท่านผู้เจริญทั้งหลายจงพิจารณาเรื่องนี้ตราบที่จิตตคหบดีนี้ยังเป็นคน
ตรง ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เขาเข้าใจวิตกวิจารว่าดับได้ ก็เข้าใจว่าใช้ข่ายปิดกั้น
ลมได้ หรือเขาเข้าใจวิตกวิจารว่าดับได้ ก็เข้าใจกระแสแม่น้ำคงคาว่าใช้กำมือของ
ตนปิดกั้นได้”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ญาณ
หรือศรัทธา อย่างไหนประณีตกว่ากัน”
“คหบดี ญาณนั่นแลประณีตกว่าศรัทธา”
“ท่านผู้เจริญ ผมสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ตราบเท่าที่ต้องการ เพราะวิตก
วิจารสงบระงับไป ฯลฯ ผมบรรลุทุติยฌานตราบเท่าที่ต้องการ เพราะปีติจาง
คลายไป ฯลฯ ผมบรรลุตติยฌานตราบเท่าที่ต้องการ เพราะละสุขได้ ฯลฯ ผม
บรรลุจตุตถฌานตราบเท่าที่ต้องการ
ท่านผู้เจริญ เมื่อรู้เห็นอย่างนี้ ผมจักไม่เชื่อใครอื่นไม่ว่าสมณะหรือพราหมณ์ว่า
‘มีสมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีความดับวิตกวิจาร”
เมื่อจิตตคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว นิครนถ์ นาฏบุตรแลดูบริษัทของตนแล้ว
ได้กล่าวดังนี้ว่า “ขอท่านผู้เจริญทั้งหลายจงพิจารณาความข้อนี้ตราบที่จิตตคหบดีนี้
เป็นคนไม่ตรง โอ้อวด มีมารยา”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ผมทราบคำที่ท่านกล่าวเดี๋ยวนี้เองว่า
‘ขอท่านผู้เจริญทั้งหลายจงพิจารณาเรื่องนี้ตราบที่จิตตคหบดีนี้ยังเป็นคนตรง ไม่โอ้อวด
ไม่มีมารยา และผมก็ทราบคำที่ท่านกล่าวเดี๋ยวนี้เองว่า ‘ขอท่านผู้เจริญทั้งหลาย
จงพิจารณาเรื่องนี้ตราบที่จิตตคหบดีนี้เป็นคนไม่ตรง โอ้อวด มีมารยา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :388 }