เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [7. จิตตสังยุต] 6. ทุติยกามภูสูตร

สัญญาและเวทนาเป็นไปทางจิต ธรรมเหล่านี้เกี่ยวเนื่องด้วยจิต เพราะฉะนั้น
สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่าจิตตสังขาร”
“ดีละ ท่านผู้เจริญ” ฯลฯ แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า “ท่านผู้เจริญ
ก็สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติมีได้อย่างไร”
“คหบดี ภิกษุผู้กำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติย่อมไม่คิดว่า ‘เราจักเข้า
สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ หรือเรากำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ หรือเรา
เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว’ ที่แท้จิตที่นำบุคคลเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น
เธอได้อบรมไว้ในกาลก่อนแล้ว”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ดีละ ท่านผู้เจริญ” ฯลฯ แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า
“ท่านผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ธรรมเหล่าไหนดับก่อน
กายสังขาร วจีสังขาร หรือจิตตสังขาร”
“คหบดี เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ วจีสังขารดับก่อน ต่อจาก
นั้น กายสังขาร จิตตสังขารจึงดับ”
“ดีละ ท่านผู้เจริญ” ฯลฯ แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า “ท่านผู้เจริญ
คนที่ตายแล้วกับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ทั้งสองนี้ต่างกันอย่างไร”
“คหบดี คนที่ตายแล้ว กายสังขารก็ดับระงับไป วจีสังขารก็ดับระงับไป
จิตตสังขารของเขาก็ดับระงับไป อายุสิ้นไป ไออุ่นหมดไป อินทรีย์แตกสลายไป
แม้ภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ กายสังขารก็ดับระงับไป วจีสังขารก็
ดับระงับไป จิตตสังขารก็ดับระงับไป (แต่)อายุไม่สิ้นไป ไออุ่นยังไม่หมด อินทรีย์
ก็ผ่องใส คหบดี คนที่ตายแล้วกับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ทั้งสองนั้น
ต่างกันอย่างนี้”
“ดีละ ท่านผู้เจริญ” ฯลฯ แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า “ท่านผู้เจริญ
ก็การออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มีได้อย่างไร”
“ภิกษุผู้กำลังออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติย่อมไม่คิดว่า ‘เราจักออกจาก
สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ หรือเรากำลังออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ หรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :383 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [7. จิตตสังยุต] 7. โคทัตตสูตร

เราออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว’ ที่แท้จิตที่นำบุคคลเข้าไปเพื่อความเป็น
อย่างนั้น เธอได้อบรมไว้ในกาลก่อนแล้ว”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ดีละ ท่านผู้เจริญ” ฯลฯ แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไป
อีกว่า “ท่านผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ธรรมเหล่าไหน
เกิดขึ้นก่อน กายสังขาร วจีสังขาร หรือจิตตสังขาร”
“คหบดี เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ จิตตสังขารเกิดขึ้นก่อน
ต่อจากนั้น กายสังขาร วจีสังขารจึงเกิดขึ้น”
“ดีละ ท่านผู้เจริญ” ฯลฯ แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า “ท่านผู้เจริญ
ผัสสะเท่าไรย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ”
“คหบดี ผัสสะ 3 คือ (1) สุญญผัสสะ (2) อนิมิตตผัสสะ (3) อัปปณิหิตผัสสะ
ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ”
“ดีละ ท่านผู้เจริญ” ฯลฯ แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า “ท่านผู้เจริญ
ภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ จิตน้อมไป โน้มไป โอนไปสู่อะไร”
“คหบดี ภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว จิตย่อมน้อมไป โน้ม
ไป โอนไปสู่วิเวก1”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ดีละ ท่านผู้เจริญ” แล้วได้ชื่นชมยินดีภาษิตของท่าน
พระกามภู แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า
“ท่านผู้เจริญ ธรรมเหล่าไหนมีอุปการะมากแก่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ”
“คหบดี ปัญหาที่ควรจะถามก่อนท่านถามช้าไป แต่เอาเถิด อาตมภาพ
จักตอบแก่ท่าน ธรรม 2 ประการ คือ (1) สมถะ (2) วิปัสสนา มีอุปการะมาก
แก่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ”

ทุติยกามภูสูตรที่ 6 จบ