เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [6. โมคคัลลานสังยุต]
4. จตุตถัชฌานปัญหาสูตร

‘ผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข’ นี้เรียกว่า ‘ตติยฌาน’ เพราะปีติจางคลายไป ผมนั้น
มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะ
ทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข’ เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้
สัญญามนสิการประกอบด้วยปีติก็ปรากฏขึ้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท
ตติยฌาน จงดำรงจิตไว้ในตติยฌาน จงทำจิตให้เป็นหนึ่งผุดขึ้นในตติยฌาน จงตั้งจิต
ให้มั่นในตติยฌาน’ ต่อมา เพราะปีติจางคลายไป ผมนั้นมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติอยู่เป็นสุข’ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ฯลฯ ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”

ตติยัชฌานปัญหาสูตรที่ 3 จบ

4. จตุตถัชฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องจตุตถฌาน

[335] “ที่เรียกว่า ‘จตุตถฌาน จตุตถฌาน’ จตุตถฌานเป็นอย่างไร ผมนั้น
ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
แล้ว ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอยู่’ นี้เรียกว่า ‘จตุตถฌาน’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและ
โทมนัสดับไปก่อนแล้ว ผมนั้นบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า ‘จตุตถฌาน’ เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา-
มนสิการประกอบด้วยสุขก็ปรากฏขึ้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท
จตุตถฌาน จงดำรงจิตไว้ในจตุตถฌาน จงทำจิตให้เป็นหนึ่งผุดขึ้นในจตุตถฌาน จง
ตั้งจิตให้มั่นในจตุตถฌาน’ ต่อมา เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส
ดับไปก่อนแล้ว ผมนั้นบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอยู่ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ฯลฯ ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”

จตุตถัชฌานปัญหาสูตรที่ 4 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [6. โมคคัลลานสังยุต]
6. วิญญาณัญจายตนฌานปัญหาสูตร

5. อากาสานัญจายตนฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องอากาสานัญจายตนฌาน

[336] “ที่เรียกว่า ‘อากาสานัญจายตนฌาน อากาสานัญจายตนฌาน’
อากาสานัญจายตนฌานเป็นอย่างไร ผมนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ภิกษุในธรรมวินัย
นี้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ เพราะล่วง
รูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวงอยู่’ นี้
เรียกว่า ‘อากาสานัญจายตนฌาน’ ผมนั้นบรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดย
กำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวงอยู่ เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ
ประกอบด้วยรูปฌานก็ปรากฏขึ้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท
อากาสานัญจายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในอากาสานัญจายตนฌาน จงทำจิตให้เป็น
หนึ่งผุดขึ้นในอากาสานัญจายตนฌาน จงตั้งจิตให้มั่นในอากาสานัญจายตนฌาน’
ต่อมา ผมนั้นบรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
อยู่ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ฯลฯ ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”

อากาสานัญจายตนฌานปัญหาสูตรที่ 5 จบ

6. วิญญาณัญจายตนฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องวิญญาณัญจายตนฌาน

[337] “ที่เรียกกันว่า ‘วิญญาณัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน’
วิญญาณัญจายตนฌานเป็นอย่างไร ผมนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดย
กำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ นี้เรียกว่า ‘วิญญาณัญจายตนฌาน’ ผมนั้น
ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :353 }