เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [2. เวทนาสังยุต]
3. อัฏฐสตปริยายวรรค 9. ตติยสมณพราหมณสูตร

พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์ของความเป็น
สมณะหรือประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และเครื่องสลัดออกจากเวทนา 3 ประการนี้ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นจัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้ง
ท่านเหล่านั้นก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะและประโยชน์ของความเป็น
พราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

ปฐมสมณพราหมณสูตรที่ 7 จบ

8. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ 2

[276] “ภิกษุทั้งหลาย เวทนา 3 ประการนี้
เวทนา 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สุขเวทนา 2. ทุกขเวทนา
3. อทุกขมสุขเวทนา
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดความเกิด ความ
ดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากเวทนา 3 ประการนี้ตามความเป็นจริง ฯลฯ
ทำให้แจ้ง ... ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

ทุติยสมณพราหมณสูตรที่ 8 จบ

9. ตติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ 3

[277] “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดเวทนา
ความเกิดแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา ฯลฯ
รู้ชัดเวทนา ฯลฯ ทำให้แจ้ง ... ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

ตติยสมณพราหมณสูตรที่ 9 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [2. เวทนาสังยุต]
3. อัฏฐสตปริยายวรรค 11. นิรามิสสูตร

10. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยเวทนาล้วน ๆ

[278] “ภิกษุทั้งหลาย เวทนา 3 ประการนี้
เวทนา 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สุขเวทนา 2. ทุกขเวทนา
3. อทุกขมสุขเวทนา
เวทนา 3 ประการนี้แล”

สุทธิกสูตรที่ 10 จบ

11. นิรามิสสูตร
ว่าด้วยปีติและสุขที่มีอามิสและไม่มีอามิส

[279] “ภิกษุทั้งหลาย ปีติมีอามิสก็มี ปีติไม่มีอามิสก็มี ปีติไม่มีอามิสยิ่ง
กว่าปีติไม่มีอามิสก็มี
สุขมีอามิสก็มี สุขไม่มีอามิสก็มี สุขไม่มีอามิสยิ่งกว่าสุขไม่มีอามิสก็มี
อุเบกขามีอามิสก็มี อุเบกขาไม่มีอามิสก็มี อุเบกขาไม่มีอามิสยิ่งกว่าอุเบกขา
ไม่มีอามิสก็มี
วิโมกข์มีอามิสก็มี วิโมกข์ไม่มีอามิสก็มี วิโมกข์ไม่มีอามิสยิ่งกว่าวิโมกข์ไม่มี
อามิสก็มี
ปีติมีอามิส เป็นอย่างไร
คือ กามคุณ 5 ประการนี้
กามคุณ 5 ประการ อะไรบ้าง ได้แก่
1. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ฯลฯ
5. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวน
ให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :309 }