เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [2. เวทนาสังยุต]
3. อัฏฐสตปริยายวรรค 3. อัญญตรภิกขุสูตร

3. เคหสิตโทมนัส (โทมนัสอิงเรือน) 6 ประการ
4. เนกขัมมสิตโทมนัส (โทมนัสอิงเนกขัมมะ) 6 ประการ
5. เคหสิตอุเบกขา (อุเบกขาอิงเรือน) 6 ประการ
6. เนกขัมมสิตอุเบกขา (อุเบกขาอิงเนกขัมมะ) 6 ประการ
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา 36 ประการ
เวทนา 108 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. เวทนาที่เป็นอดีต 36 ประการ
2. เวทนาที่เป็นอนาคต 36 ประการ
3. เวทนาที่เป็นปัจจุบัน 36 ประการ
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา 108 ประการ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบรรยายซึ่งมีบรรยายถึง 108 ประการ เป็นอย่างนี้แล”

อัฏฐสตสูตรที่ 2 จบ

3. อัญญตรภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุรูปหนึ่ง

[271] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวทนามีเท่าไร ความเกิดแห่งเวทนาเป็นอย่างไร
ปฏิปทาที่ให้ถึงความเกิดแห่งเวทนาเป็นอย่างไร ความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างไร
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างไร อะไรเป็นคุณแห่งเวทนา อะไร
เป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :304 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [2. เวทนาสังยุต]
3. อัฏฐสตปริยายวรรค 4. ปุพพสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ เวทนามี 3 ประการนี้ คือ
1. สุขเวทนา 2. ทุกขเวทนา
3. อทุกขมสุขเวทนา
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา
เพราะผัสสะเกิดเวทนาจึงเกิด ตัณหาเป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความเกิดแห่งเวทนา
เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ อริยมรรคมีองค์ 8 นี้แลเป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความ
ดับแห่งเวทนา คือ
1. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ 8. สัมมาสมาธิ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งเวทนา
สภาพที่เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษ
แห่งเวทนา
ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นเครื่อง
สลัดออกจากเวทนา”

อัญญตรภิกขุสูตรที่ 3 จบ

4. ปุพพสูตร
ว่าด้วยพระดำริก่อนตรัสรู้

[272] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิด
ดังนี้ว่า
‘เวทนามีเท่าไร ความเกิดแห่งเวทนาเป็นอย่างไร ปฏิปทาที่ให้ถึงความเกิด
แห่งเวทนาเป็นอย่างไร ความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างไร ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ
แห่งเวทนาเป็นอย่างไร อะไรเป็นคุณแห่งเวทนา อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็น
เครื่องสลัดออกจากเวทนา’
เรานั้นได้คิดต่อไปว่า ‘เวทนามี 3 ประการนี้ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :305 }