เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [2. เวทนาสังยุต]
2. รโหคตวรรค 9. ปัญจกังคสูตร

ชนเหล่าใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่าง
ยิ่งนี้” เราก็ไม่คล้อยตามคำของชนเหล่านั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติอยู่เป็นสุข’
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างนี้แล
ชนเหล่าใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่าง
ยิ่งนี้” เราก็ไม่คล้อยตามคำนี้ของชนเหล่านั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างนี้แล
ชนเหล่าใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่าง
ยิ่งนี้” เราก็ไม่คล้อยตามคำของชนเหล่านั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า
“อากาศหาที่สุดมิได้” เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต-
สัญญา โดยประการทั้งปวง
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :297 }