เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [2. เวทนาสังยุต]
2. รโหคตวรรค 3. ทุติยอากาสสูตร

ลมหลายชนิด พัดไปในอากาศ คือ
ลมมาจากทิศตะวันออกบ้าง ลมมาจากทิศตะวันตกบ้าง
ลมมาจากทิศเหนือบ้าง ลมมาจากทิศใต้บ้าง
ลมหลายชนิดพัดไป คือ
ลมเจือฝุ่นบ้าง ลมไม่เจือฝุ่นบ้าง
ลมหนาวบ้าง ลมร้อนบ้าง
บางคราวลมแรงบ้าง ลมอ่อน ๆ บ้าง แม้ฉันใด
เวทนาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเกิดขึ้นในกายนี้ คือ
สุขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง ทุกขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง
อทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง
เมื่อใดภิกษุมีความเพียร ไม่ละสัมปชัญญะ
เมื่อนั้นเธอเป็นบัณฑิต กำหนดรู้เวทนาทั้งปวงได้
เธอครั้นกำหนดรู้เวทนาแล้ว
ไม่มีอาสวะในปัจจุบัน ตั้งอยู่ในธรรม จบเวท
ตายไป ย่อมไม่เข้าถึงการบัญญัติ”

ปฐมอากาสสูตรที่ 2 จบ

3. ทุติยอากาสสูตร
ว่าด้วยอากาศ สูตรที่ 2

[261] “ภิกษุทั้งหลาย ลมชนิดต่าง ๆ พัดไปในอากาศ คือ ลมมาจากทิศ
ตะวันออกพัดไปบ้าง ฯลฯ ลมแรงพัดไปบ้าง แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย เวทนาชนิดต่าง ๆ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเกิดขึ้นในกายนี้
คือ สุขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง ทุกขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง อทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง”

ทุติยอากาสสูตรที่ 3 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [2. เวทนาสังยุต]
2. รโหคตวรรค 5. ปฐมอานันทสูตร

4. อคารสูตร
ว่าด้วยเรือนพัก

[262] “ภิกษุทั้งหลาย มีเรือนพักคนเดินทางอยู่ คนทั้งหลายมาจากทิศ
ตะวันออกบ้าง มาจากทิศตะวันตกบ้าง มาจากทิศเหนือบ้าง มาจากทิศใต้บ้าง
เข้ามาพักในเรือนพักคนเดินทางนั้น คือ กษัตริย์มาพักบ้าง พราหมณ์มาพักบ้าง
แพศย์มาพักบ้าง ศูทรมาพักบ้าง แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย เวทนาชนิดต่าง ๆ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเกิดขึ้นในกายนี้
คือ สุขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง ทุกขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง อทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง
สุขเวทนาเจืออามิส1เกิดขึ้นบ้าง ทุกขเวทนาเจืออามิส2เกิดขึ้นบ้าง อทุกขมสุข-
เวทนาเจืออามิส3เกิดขึ้นบ้าง สุขเวทนาไม่เจืออามิส4เกิดขึ้นบ้าง ทุกขเวทนาไม่เจือ
อามิส5เกิดขึ้นบ้าง อทุกขมสุขเวทนาไม่เจืออามิส6เกิดขึ้นบ้าง”

อคารสูตรที่ 4 จบ

5. ปฐมอานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ สูตรที่ 1

[263] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า