เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [2. เวทนาสังยุต]
2. รโหคตวรรค 3. ทุติยอากาสสูตร

ลมหลายชนิด พัดไปในอากาศ คือ
ลมมาจากทิศตะวันออกบ้าง ลมมาจากทิศตะวันตกบ้าง
ลมมาจากทิศเหนือบ้าง ลมมาจากทิศใต้บ้าง
ลมหลายชนิดพัดไป คือ
ลมเจือฝุ่นบ้าง ลมไม่เจือฝุ่นบ้าง
ลมหนาวบ้าง ลมร้อนบ้าง
บางคราวลมแรงบ้าง ลมอ่อน ๆ บ้าง แม้ฉันใด
เวทนาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเกิดขึ้นในกายนี้ คือ
สุขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง ทุกขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง
อทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง
เมื่อใดภิกษุมีความเพียร ไม่ละสัมปชัญญะ
เมื่อนั้นเธอเป็นบัณฑิต กำหนดรู้เวทนาทั้งปวงได้
เธอครั้นกำหนดรู้เวทนาแล้ว
ไม่มีอาสวะในปัจจุบัน ตั้งอยู่ในธรรม จบเวท
ตายไป ย่อมไม่เข้าถึงการบัญญัติ”

ปฐมอากาสสูตรที่ 2 จบ

3. ทุติยอากาสสูตร
ว่าด้วยอากาศ สูตรที่ 2

[261] “ภิกษุทั้งหลาย ลมชนิดต่าง ๆ พัดไปในอากาศ คือ ลมมาจากทิศ
ตะวันออกพัดไปบ้าง ฯลฯ ลมแรงพัดไปบ้าง แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย เวทนาชนิดต่าง ๆ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเกิดขึ้นในกายนี้
คือ สุขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง ทุกขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง อทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง”

ทุติยอากาสสูตรที่ 3 จบ