เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [2. เวทนาสังยุต]
2. รโหคตวรรค 1. รโหคตสูตร

2. รโหคตวรรค
หมวดว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ในที่สงัด
1. รโหคตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ในที่สงัด

[259] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด
ได้เกิดความคิดคำนึงขึ้นมาว่า
‘พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ 3 ประการ คือ
1. สุขเวทนา 2. ทุกขเวทนา
3. อทุกขมสุขเวทนา
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเวทนาไว้ 3 ประการนี้
สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘ความเสวยอารมณ์อย่างใด
อย่างหนึ่งนั้นเป็นทุกข์’
พระดำรัสที่ว่า ‘ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเป็นทุกข์’ นั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงอะไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ดีละ ดีละ ภิกษุ เรากล่าวเวทนาไว้ 3 ประการนี้ คือ
1. สุขเวทนา 2. ทุกขเวทนา
3. อทุกขมสุขเวทนา
เรากล่าวเวทนาไว้ 3 ประการนี้
สมจริงดังคำที่เรากล่าวว่า ‘ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเป็นทุกข์’
คำที่ว่า ‘ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเป็นทุกข์’ นั้นเรากล่าว
หมายถึงความที่สังขารทั้งหลายนั้นแลไม่เที่ยง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :284 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [2. เวทนาสังยุต]
2. รโหคตวรรค 1. รโหคตสูตร

คำที่ว่า ‘ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเป็นทุกข์’ นั้นเรากล่าว
หมายถึงความที่สังขารทั้งหลายนั้นแลมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความ
เสื่อมไปเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความแตกไปเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความดับไปเป็น
ธรรมดา ฯลฯ
คำที่ว่า ‘ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเป็นทุกข์’ นั้นเรากล่าว
หมายถึงความที่สังขารทั้งหลายนั้นแลมีความแปรผันเป็นธรรมดา
ต่อมา เรากล่าวความดับไปแห่งสังขารตามลำดับ คือ
1. เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาก็ดับไป
2. เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารก็ดับไป
3. เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติก็ดับไป
4. เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกก็ดับไป
5. เมื่อเข้าอากาสานัญจายตนฌาน1 รูปสัญญาก็ดับไป
6. เมื่อเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน2 อากาสานัญจายตนสัญญาก็ดับไป
7. เมื่อเข้าอากิญจัญญายตนฌาน3 วิญญาณัญจายตนสัญญาก็ดับไป
8. เมื่อเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนสัญญาก็ดับไป
9. เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาก็ดับไป
10. ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ราคะย่อมดับไป โทสะย่อมดับไป โมหะ
ย่อมดับไป