เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [2. เวทนาสังยุต]
1. สคาถวรรค 8. ทุติยเคลัญญสูตร

เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘สุขเวทนานี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะอาศัยกัน สุขเวทนา
นั้นจึงเกิดขึ้น เพราะไม่อาศัยกัน จึงไม่เกิดขึ้น เพราะอาศัยอะไร เพราะอาศัย
ผัสสะนี้เอง แต่ผัสสะนี้ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น
สุขเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะที่ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกัน
เกิดขึ้น ที่ไหนจักเที่ยงเล่า’
เธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อม ความคลายกำหนัด ความดับ
และความสละคืนในผัสสะและในสุขเวทนาอยู่ เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
ความเสื่อม ความคลายกำหนัด ความดับ และความสละคืนในผัสสะและใน
สุขเวทนาอยู่อย่างนี้ ย่อมละราคานุสัยในผัสสะและในสุขเวทนาได้
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติ ฯลฯ อยู่อย่างนี้ ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ
อทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้น เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘อทุกขมสุขเวทนานี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
เพราะอาศัยกัน อทุกขมสุขเวทนานั้นจึงเกิดขึ้น เพราะไม่อาศัยกัน จึงไม่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยอะไร เพราะอาศัยผัสสะนี้เอง แต่ผัสสะนี้ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ฯลฯ (ควรขยายความให้พิสดารเหมือนสูตรแรก) หลังจาก
ตายไป ก็รู้ชัดว่า ‘เวทนาทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน จักเย็นในโลกนี้ทีเดียว’

เปรียบเวทนากับตะเกียง

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยน้ำมันและไส้ ตะเกียงน้ำมันจึงติดอยู่ได้ เพราะ
สิ้นน้ำมันและไส้ ตะเกียงน้ำมันนั้นก็หมดเชื้อดับไปแม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด’ เมื่อเสวย
เวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด’ หลังจากตายไป
ก็รู้ชัดว่า ‘เวทนาทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน จักเย็นในโลกนี้ทีเดียว ๋

ทุติยเคลัญญสูตรที่ 8 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [2. เวทนาสังยุต]
1. สคาถวรรค 10. ผัสสมูลกสูตร

9. อนิจจสูตร
ว่าด้วยเวทนาไม่เที่ยง

[257] “ภิกษุทั้งหลาย เวทนา 3 ประการนี้ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
มีความคลายไปเป็นธรรมดามีความดับไปเป็นธรรมดา
เวทนา 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สุขเวทนา 2. ทุกขเวทนา
3. อทุกขมสุขเวทนา
ภิกษุทั้งหลาย เวทนา 3 ประการนี้ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกัน
และกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความ
คลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา”

อนิจจสูตรที่ 9 จบ

10. ผัสสมูลกสูตร
ว่าด้วยเวทนามีผัสสะเป็นมูล

[258] “ภิกษุทั้งหลาย เวทนา 3 ประการนี้เกิดจากผัสสะ มีผัสสะเป็นมูล
มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย
เวทนา 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สุขเวทนา 2. ทุกขเวทนา
3. อทุกขมสุขเวทนา
เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขเวทนาจึงเกิด เพราะผัสสะ
อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นนั่นแลดับ สุขเวทนาที่เกิดเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่
ตั้งแห่งสุขเวทนาที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นก็ดับคือสงบไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :282 }