เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [2. เวทนาสังยุต]
1. สคาถวรรค 7. ปฐมเคลัญญสุตร

7. ปฐมเคลัญญสูตร
ว่าด้วยความเจ็บป่วย สูตรที่ 1

[255] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปยัง
ศาลาคนไข้แล้ว ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะตลอดเวลา นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับ
เธอทั้งหลายของเรา

ลักษณะของผู้มีสติสัมปชัญญะ

ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ... ในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ ในจิต ฯลฯ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย1อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุผู้มีสติเป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู
การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร การฉัน
การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง
การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง
ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะเป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะตลอดเวลา นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับ
เธอทั้งหลายของเรา


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [2. เวทนาสังยุต]
1. สคาถวรรค 7. ปฐมเคลัญญสุตร

ผู้มีสติสัมปชัญญะย่อมรู้เวทนาชัด

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ สุขเวทนาเกิดขึ้น
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘สุขเวทนานี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะอาศัยกัน สุขเวทนา
นั้นจึงเกิดขึ้น เพราะไม่อาศัยกัน จึงไม่เกิดขึ้น เพราะอาศัยอะไร เพราะอาศัย
กายนี้เอง แต่กายนี้ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น สุขเวทนา
เกิดขึ้นเพราะอาศัยกายที่ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ที่ไหน
จักเที่ยงเล่า’
เธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อม ความคลายกำหนัด ความดับ
และความสละคืนในกายและในสุขเวทนาอยู่ เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
ความเสื่อม ความคลายกำหนัด ความดับ และความสละคืนในกายและใน
สุขเวทนาอยู่อย่างนี้ ย่อมละราคานุสัยในกายและในสุขเวทนาได้
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ทุกขเวทนาเกิดขึ้น
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ทุกขเวทนานี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะอาศัยกัน ทุกขเวทนา
นั้นจึงเกิดขึ้น เพราะไม่อาศัยกัน จึงไม่เกิดขึ้น เพราะอาศัยอะไร เพราะอาศัยกาย
นี้เอง แต่กายนี้ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ทุกขเวทนา
เกิดขึ้นเพราะอาศัยกายที่ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ที่
ไหนจักเที่ยงเล่า’
เธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อม ความคลายกำหนัด ความดับ
และความสละคืนในกายและในทุกขเวทนาอยู่ เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
ฯลฯ และความสละคืนในกายและในทุกขเวทนาอยู่อย่างนี้ ย่อมละปฏิฆานุสัยใน
กายและในทุกขเวทนาได้
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ อทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :278 }