เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [2. เวทนาสังยุต]
1. สคาถวรรค 6. สัลลสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอริยสาวกผู้ได้สดับนั้นรู้ชัดเครื่องสลัดออกจากทุกขเวทนา เว้นจาก
กามสุข เมื่อเธอไม่เพลิดเพลินกามสุข ราคานุสัยในสุขเวทนา ย่อมไม่ไหลไปตาม
เธอรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากเวทนาเหล่านั้น
ตามความเป็นจริง เมื่อเธอรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัด
ออกจากเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง อวิชชานุสัยในอทุกขมสุขเวทนาย่อมไม่
ไหลไปตาม ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ก็ปราศจาก(กิเลส)เสวยสุขเวทนานั้น ถ้าเธอ
เสวยทุกขเวทนา ก็ปราศจาก(กิเลส)เสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุข-
เวทนา ก็ปราศจาก(กิเลส)เสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับนี้เราเรียกว่า ‘เป็นผู้ปราศจากชาติ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส’ เรากล่าวว่า ‘เป็นผู้ปราศ
จากทุกข์’
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน เป็นเหตุ
ทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
อริยสาวกนั้นมีปัญญา เป็นพหูสูต
ย่อมไม่เสวยทั้งสุขเวทนา ทั้งทุกขเวทนา
นี้เป็นความแปลกกันระหว่างธีรชนผู้ฉลาดกับปุถุชน
ธรรมที่น่าปรารถนาย่อมไม่ย่ำยีจิต
ของอริยสาวกนั้นผู้มีธรรมอันรู้แจ้งแล้ว
เป็นพหูสูตเห็นแจ้งโลกนี้และโลกหน้าอยู่
ท่านย่อมไม่ถึงความขัดเคืองเพราะอนิฏฐารมณ์
อนึ่ง ความยินดีหรือความยินร้ายถูกท่านกำจัดแล้ว
ตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมไม่มี ท่านรู้บทที่ปราศจากธุลี
ไม่มีความเศร้าโศก รู้ชัดโดยชอบ ถึงฝั่งแห่งภพได้”

สัลลสูตรที่ 6 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [2. เวทนาสังยุต]
1. สคาถวรรค 7. ปฐมเคลัญญสุตร

7. ปฐมเคลัญญสูตร
ว่าด้วยความเจ็บป่วย สูตรที่ 1

[255] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปยัง
ศาลาคนไข้แล้ว ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะตลอดเวลา นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับ
เธอทั้งหลายของเรา

ลักษณะของผู้มีสติสัมปชัญญะ

ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ... ในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ ในจิต ฯลฯ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย1อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุผู้มีสติเป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู
การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร การฉัน
การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง
การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง
ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะเป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะตลอดเวลา นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับ
เธอทั้งหลายของเรา