เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [2. เวทนาสังยุต]
1. สคาถวรรค 5. ทัฏฐัพพสูตร

ภิกษุใดถูกทุกขเวทนาที่เป็นไปในสรีระ
อันนำชีวิตไปซึ่งเกิดขึ้นถูกต้องแล้ว
อดกลั้นไม่ได้ ย่อมหวั่นไหว
มีกำลังทราม1 เรี่ยวแรงน้อย2 ย่อมร้องไห้คร่ำครวญ
ภิกษุนั้นปรากฏในบาดาลไม่ได้
ทั้งถึงการหยั่งลงไม่ได้ด้วย
ส่วนภิกษุใดถูกทุกขเวทนาที่เป็นไปในสรีระ
อันนำชีวิตไปซึ่งเกิดขึ้นถูกต้องแล้ว
อดกลั้นได้ ย่อมไม่หวั่นไหว
ภิกษุนั้นแลปรากฏในบาดาลได้
ทั้งถึงการหยั่งลงได้ด้วย”

ปาตาลสูตรที่ 4 จบ

5. ทัฏฐัพพสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ควรเห็น

[253] “ภิกษุทั้งหลาย เวทนา 3 ประการนี้
เวทนา 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สุขเวทนา 2. ทุกขเวทนา
3. อทุกขมสุขเวทนา
เธอทั้งหลายพึงเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์ พึงเห็นทุกขเวทนาโดยความ
เป็นลูกศร พึงเห็นอทุกขมสุขเวทนาโดยความไม่เที่ยง เพราะภิกษุเห็นสุขเวทนา
โดยความเป็นทุกข์ เห็นทุกขเวทนาโดยความเป็นลูกศร เห็นอทุกขมสุขเวทนาโดย
ความไม่เที่ยง ภิกษุนี้เราเรียกว่า ‘มีความเห็นชอบ ตัดตัณหาได้ เพิกถอน
สังโยชน์แล้ว ได้ทำที่สุดแห่งทุกข์ เพราะรู้แจ้งมานะได้โดยชอบ’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [2. เวทนาสังยุต]
1. สคาถวรรค 6. สัลลสูตร

ภิกษุใดเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์
เห็นทุกขเวทนาโดยความเป็นลูกศร
เห็นอทุกขมสุขเวทนาที่มีอยู่โดยความไม่เที่ยง
ภิกษุนั้นมีความเห็นชอบ ย่อมกำหนดรู้เวทนาทั้งหลายได้
เธอครั้นกำหนดรู้เวทนาแล้ว ไม่มีอาสวะในปัจจุบัน
ตั้งอยู่ในธรรม จบเวท ตายไป ย่อมไม่เข้าถึงการบัญญัติ”

ทัฏฐัพพสูตรที่ 5 จบ

6. สัลลสูตร
ว่าด้วยลูกศร

[254] “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนา
บ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง อริยสาวกผู้ได้สดับก็เสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง
อทุกขมสุขเวทนาบ้าง
ในชน 2 จำพวกนั้น มีอะไรเป็นความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน เป็น
เหตุทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้ง
หลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับถูกทุกขเวทนา
ถูกต้อง ย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความลุ่มหลง เขา
ย่อมเสวยเวทนา 2 ประการ คือ
1. เวทนาทางกาย 2. เวทนาทางใจ
นายขมังธนูใช้ลูกศรยิงบุรุษ ยิงซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศรดอกที่ 2 อีก เมื่อเป็น
เช่นนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนา 2 ประการเพราะลูกศร คือ
1. เวทนาทางกาย 2. เวทนาทางใจ
แม้ฉันใด
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกทุกขเวทนาถูกต้องย่อมเศร้าโศก ลำบาก
ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความลุ่มหลง เขาย่อมเสวยเวทนา 2 ประการ คือ
1. เวทนาทางกาย 2. เวทนาทางใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :274 }