เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 4. อาสีวิาวรรค 11. ยวกลาปิสูตร

ในกาลที่ท้าวเวปจิตติจอมอสูรทรงดำริว่า “พวกอสูรตั้งอยู่ในธรรม พวก
เทวดาไม่ตั้งอยู่ในธรรม บัดนี้เราจักไปยังเมืองอสูร” ท้าวเวปจิตติจอมอสูรพิจารณา
เห็นตนถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำทั้ง 5 รวมทั้งเครื่องผูกคอ และเสื่อมจากกามคุณ
5 อันเป็นทิพย์
ภิกษุทั้งหลาย เครื่องจองจำท้าวเวปจิตติละเอียดอย่างนี้ เครื่องจองจำของ
มารละเอียดยิ่งกว่านั้น บุคคลเมื่อกำหนดหมายก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่กำหนด
หมายก็พ้นจากมารผู้มีบาป
ความกำหนดหมายเป็นต้นเป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร
ภิกษุทั้งหลาย ความกำหนดหมายว่า “เรามี” ความกำหนดหมายว่า “เรา
เป็นนี้” ความกำหนดหมายว่า “เราจักมี” ความกำหนดหมายว่า “เราจักไม่มี”
ความกำหนดหมายว่า “เราจักเป็นผู้มีรูป” ความกำหนดหมายว่า “เราจักเป็นผู้
ไม่มีรูป” ความกำหนดหมายว่า “เราจักเป็นผู้มีสัญญา” ความกำหนดหมายว่า
“เราจักเป็นผู้ไม่มีสัญญา” ความกำหนดหมายว่า “เราจักเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่
มีสัญญาก็มิใช่”
ความกำหนดหมายเป็นโรค ความกำหนดหมายเป็นหัวฝี ความกำหนด
หมายเป็นลูกศร เพราะฉะนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราทั้งหลาย
จักมีจิตไม่กำหนดหมายอยู่”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหวว่า “เรามี” ความหวั่นไหวว่า “เราเป็นนี้”
ความหวั่นไหวว่า “เราจักมี” ความหวั่นไหวว่า “เราจักไม่มี” ความหวั่นไหวว่า
“เราจักเป็นผู้มีรูป” ความหวั่นไหวว่า “เราจักเป็นผู้ไม่มีรูป” ความหวั่นไหวว่า “เรา
จักเป็นผู้มีสัญญา” ความหวั่นไหวว่า “เราจักเป็นผู้ไม่มีสัญญา” ความหวั่นไหวว่า
“เราจักเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่”
ความหวั่นไหวเป็นโรค ความหวั่นไหวเป็นหัวฝี ความหวั่นไหวเป็นลูกศร เพราะ
ฉะนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราทั้งหลายจักมีจิตไม่หวั่นไหวอยู่”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :267 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 4. อาสีวิาวรรค 11. ยวกลาปิสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ความดิ้นรนว่า "เรามี" ความดิ้นรนว่า "เราเป็นนี้" ความ
ดิ้นรนว่า "เราจักมี" ความดิ้นรนว่า "เราจักไม่มี" ความดิ้นรนว่า "เราจักเป็น
ผู้มีรูป" ความดิ้นรนว่า "เราจักเป็นผู้ไม่มีรูป" ความดิ้นรนว่า "เราจักเป็นผู้มี
สัญญา" ความดิ้นรนว่า "เราจักเป็นผู้ไม่มีสัญญา" ความดิ้นรนว่า "เราจักเป็นผู้
มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่"
ความดิ้นรนเป็นโรค ความดิ้นรนเป็นหัวฝี ความดิ้นรนเป็นลูกศร เพราะ
ฉะนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า "เราทั้งหลายจักมีจิตไม่ดิ้นรนอยู่"
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ความปรุงแต่งว่า "เรามี" ความปรุงแต่งว่า "เราเป็นนี้"
ความปรุงแต่งว่า "เราจักมี" ความปรุงแต่งว่า "เราจักไม่มี" ความปรุงแต่งว่า
"เราจักเป็นผู้มีรูป" ความปรุงแต่งว่า "เราจักเป็นผู้ไม่มีรูป" ความปรุงแต่งว่า
"เราจักเป็นผู้มีสัญญา" ความปรุงแต่งว่า "เราจักเป็นผู้ไม่มีสัญญา" ความปรุงแต่ง
ว่า "เราจักเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่"
ความปรุงแต่งเป็นโรค ความปรุงแต่งเป็นหัวฝี ความปรุงแต่งเป็นลูกศร เพราะ
ฉะนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า "เราทั้งหลายจักมีจิตไม่ปรุงแต่งอยู่"
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ความถือตัวว่า "เรามี" ความถือตัวว่า "เราเป็นนี้" ความ
ถือตัวว่า "เราจักมี" ความถือตัวว่า "เราจักไม่มี" ความถือตัวว่า "เราจักเป็นผู้
มีรูป" ความถือตัวว่า "เราจักเป็นผู้ไม่มีรูป" ความถือตัวว่า "เราจักเป็นผู้มีสัญญา"
ความถือตัวว่า "เราจักเป็นผู้ไม่มีสัญญา" ความถือตัวว่า "เราจักเป็นผู้มีสัญญา
ก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่"
ความถือตัวเป็นโรค ความถือตัวเป็นหัวฝี ความถือตัวเป็นลูกศร เพราะ
ฉะนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า "เราทั้งหลายจักมีจิตไม่ถือตัวอยู่"
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล"

ยวกลาปิสูตรที่ 11 จบ
อาสีวิสวรรคที่ 4 จบ