เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 4. อาสีวิสวรรค 9. วีโณปมสูตร

ใคร่อย่างนี้ น่าชอบใจอย่างนี้ น่าเพลิดเพลินอย่างนี้ น่าหมกมุ่นอย่างนี้ น่าพัวพัน
อย่างนี้ เป็นเสียงอะไร”
ราชบุรุษทั้งหลายพึงทูลว่า “เสียงที่น่าใคร่อย่างนี้ น่าชอบใจอย่างนี้ น่า
เพลิดเพลินอย่างนี้ น่าหมกมุ่นอย่างนี้ น่าพัวพันอย่างนี้ เป็นเสียงพิณ พ่ะย่ะค่ะ”
พระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชาพึงกล่าวว่า “ผู้เจริญ ท่านทั้งหลายจงไป
นำพิณนั้นมาให้เรา”
ราชบุรุษทั้งหลายนำพิณนั้นมาถวายพระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชานั้นแล้ว
พึงกราบทูลว่า “นี่คือพิณนั้นซึ่งมีเสียงน่าใคร่อย่างนี้ น่าชอบใจอย่างนี้ น่า
เพลิดเพลินอย่างนี้ น่าหมกมุ่นอย่างนี้ น่าพัวพันอย่างนี้ พ่ะย่ะค่ะ”
พระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชาพึงกล่าวว่า “ผู้เจริญ เราไม่ต้องการพิณนี้
ท่านทั้งหลายจงนำเสียงพิณนั้นมาให้เรา”
ราชบุรุษทั้งหลายพึงกราบทูลว่า “ขึ้นชื่อว่าพิณนี้มีเครื่องประกอบมากมาย
หลายอย่าง พิณที่นายช่างประกอบดีแล้วด้วยเครื่องประกอบหลายอย่างจึงจะเปล่ง
เสียงได้ คือ อาศัยราง อาศัยหนัง อาศัยคัน อาศัยลูกบิด1 อาศัยสาย อาศัย
ไม้ดีดพิณ และอาศัยความพยายามของบุรุษซึ่งเหมาะแก่พิณนั้น
ขึ้นชื่อว่าพิณนี้มีเครื่องประกอบมากมายหลายอย่าง พิณที่นายช่างประกอบดี
แล้วด้วยเครื่องประกอบหลายอย่าง จึงจะเปล่งเสียงได้อย่างนี้ พ่ะย่ะค่ะ”
พระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชานั้นพึงผ่าพิณนั้นเป็น 10 เสี่ยง หรือ 100
เสี่ยงแล้ว ทำให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วพึงเผาไฟทำให้เป็นเขม่า โปรยไปในลม
พายุหรือลอยไปในแม่น้ำที่มีกระแสเชี่ยว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า
ขึ้นชื่อว่าพิณนี้เลวทราม สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ชื่อว่าพิณก็เลวทรามเหมือนพิณฉะนั้น เพราะ
พิณนี้ทำให้คนประมาท หลงใหลจนเกินขอบเขต” แม้ฉันใด


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 4. อาสีวิสวรรค 10. ฉัปปาณโกปมสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมค้นหารูปตลอดคติแห่งรูปที่มีอยู่
ค้นหาเวทนาตลอดคติแห่งเวทนาที่มีอยู่ ค้นหาสัญญาตลอดคติแห่งสัญญาที่มีอยู่
ค้นหาสังขารตลอดคติแห่งสังขารที่มีอยู่ ค้นหาวิญญาณตลอดคติแห่งวิญญาณที่
มีอยู่
เมื่อภิกษุนั้นค้นหารูป ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... เมื่อภิกษุนั้นค้นหา
วิญญาณตลอดคติแห่งวิญญาณที่มีอยู่ ความถือว่า ‘เรา’ ‘ของเรา’ ‘มีเรา’ ของ
ภิกษุนั้นไม่มีเลย”

วีโณปมสูตรที่ 9 จบ

10. ฉัปปาณโกปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยสัตว์ 6 ชนิด

[247] “ภิกษุทั้งหลาย บุรุษมีร่างกายเต็มไปด้วยแผลพุพอง เข้าไปสู่ป่าหญ้าคา
แม้ถ้าหน่อหญ้าคาตำเท้าของเขา ใบหญ้าคาบาดร่างกายที่พุพอง เมื่อเป็นเช่นนั้น
บุรุษนั้นพึงเสวยทุกข์โทมนัสเหลือประมาณเพราะเหตุนั้นแม้ฉันใด
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะไปสู่บ้านหรือจะไปสู่ป่าก็ตาม
จะมีผู้ทักท้วงว่า “ท่านรูปนี้ทำอย่างนี้ มีความประพฤติอย่างนี้ เป็นผู้ไม่สะอาด
เป็นดุจหนามคอยทิ่มแทงชาวบ้าน”
เธอทั้งหลายรู้ว่า “ภิกษุนั้นเป็นดุจหนาม” แล้วพึงทราบความสำรวมและ
ความไม่สำรวมต่อไป

ความไม่สำรวม

ความไม่สำรวม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ย่อมยินดีในรูปที่น่ารัก ย่อมยินร้าย
ในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิตอยู่ และไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติ
และปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :262 }