เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 4. อาสีวิสวรรค 8. กิงสุโกปมสูตร

ต่อมา ท่านไม่พอใจการตอบปัญหาของภิกษุรูปนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูป
หนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า “ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุ
จึงมีทัศนะหมดจดดี”
ภิกษุนั้นตอบว่า “ผู้มีอายุ เพราะภิกษุรู้ชัดถึงความเกิดและความดับแห่ง
มหาภูตรูป 4 ตามความเป็นจริง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงมีทัศนะหมดจดดี”
ต่อมา ท่านไม่พอใจการตอบปัญหาของภิกษุรูปนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูป
หนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า “ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุ
จึงมีทัศนะหมดจดดี”
ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “ผู้มีอายุ เพราะภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘สิ่งใด
สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา’ ด้วย
เหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงมีทัศนะหมดจดดี”
ต่อมา ท่านไม่พอใจการตอบปัญหาของภิกษุรูปนั้น จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ
ภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์เข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง
ถึงที่อยู่ แล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า ‘ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงมี
ทัศนะหมดจดดี’
เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปนั้นได้ตอบข้าพระองค์ดังนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ
เพราะภิกษุรู้ชัดถึงความเกิดและความดับแห่งผัสสายตนะ 6 ประการตามความ
เป็นจริง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงมีทัศนะหมดจดดี’
ขณะนั้น ข้าพระองค์ไม่พอใจการตอบปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุ
อีกรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า ‘ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ
ภิกษุจึงมีทัศนะหมดจดดี’
เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปนั้นได้ตอบข้าพระองค์ว่า ‘ผู้มีอายุ
เพราะภิกษุรู้ชัดถึงความเกิดและความดับแห่งอุปาทานขันธ์ 5 ฯลฯ แห่งมหาภูต-

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :256 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 4. อาสีวิสวรรค 8. กิงสุโกปมสูตร

รูป 4 ตามความเป็นจริง ฯลฯ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล
ภิกษุจึงมีทัศนะหมดจดดี’
ต่อมา ข้าพระองค์ไม่พอใจการตอบปัญหาของภิกษุรูปนั้น จึงเข้ามาเฝ้า
พระองค์ถึงที่ประทับ ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุ
จึงมีทัศนะหมดจดดี”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ เปรียบเหมือนบุรุษไม่เคยเห็นต้นทองกวาว
เลย เขาเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถามบุรุษนั้น
อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร’
บุรุษนั้นพึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ต้นทองกวาวดำเหมือนตอที่ถูกไฟไหม้’
เวลานั้นต้นทองกวาวเป็นดังที่เขาเห็น ขณะนั้นเขาไม่พอใจการตอบปัญหา
ของบุรุษนั้น จึงเข้าไปหาบุรุษอีกคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถาม
บุรุษนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร’
บุรุษนั้นพึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ต้นทองกวาวแดงเหมือนชิ้นเนื้อ’
เวลานั้นต้นทองกวาวเป็นดังที่เขาเห็น ต่อมาเขาไม่พอใจการตอบปัญหาของ
บุรุษนั้น จึงเข้าไปหาบุรุษอีกคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถามบุรุษ
นั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร’
บุรุษนั้นพึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ต้นทองกวาวที่เกิดนานมีฝักเหมือน
ต้นซึก’
เวลานั้นต้นทองกวาวเป็นดังที่เขาเห็น ต่อมา เขาไม่พอใจการตอบปัญหาของ
บุรุษนั้น จึงเข้าไปหาบุรุษอีกคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถามบุรุษ
นั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร’
บุรุษนั้นพึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ต้นทองกวาวมีใบแก่และใบอ่อนหนา
แน่น มีร่มทึบเหมือนต้นไทร’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :257 }