เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 4. อาสีวิสวรรค 7. ทุกขธัมมสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา มิตร1 อำมาตย์2
ญาติ3 สาโลหิต4ก็ตาม พึงปวารณาภิกษุผู้ประพฤติอยู่อย่างนี้เพื่อให้ยินดียิ่งด้วย
โภคทรัพย์ทั้งหลายว่า “มาเถิด พระคุณเจ้าผู้เจริญ ผ้ากาสาวพัสตร์เหล่านี้ทำให้
ท่านเร่าร้อนมิใช่หรือ ท่านจะเป็นคนหัวโล้น เที่ยวถือกระเบื้องไปทำไม เชิญเถิด
เชิญท่านกลับมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญเถิด
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นเมื่อประพฤติอยู่อย่างนี้จักบอกคืน
สิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาที่ไหลไปทางทิศตะวันออก บ่าไปทางทิศตะวันออก
หลากไปทางทิศตะวันออก ถ้าหมู่มหาชนพากันถือเอาจอบและตะกร้ามาด้วยตั้งใจ
ว่า ‘พวกเราจักช่วยกันทดแม่น้ำคงคานี้ให้ไหลไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง หลากไป
ข้างหลัง’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร หมู่มหาชนนั้นพึง
ทดแม่น้ำคงคาให้ไหลไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง หลากไปข้างหลังได้หรือ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะแม่น้ำคงคาไหลไปทางทิศตะวันออก บ่าไปทาง
ทิศตะวันออก หลากไปทางทิศตะวันออก หมู่มหาชนจะทดแม่น้ำคงคานั้นให้ไหล
ไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง หลากไปข้างหลัง ไม่ใช่ทำได้ง่าย แต่หมู่มหาชนนั้นพึงมี
ส่วนแห่งความลำบาก เหน็ดเหนื่อยแน่นอน”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 4. อาสีวิสวรรค 8. กิงสุโกปมสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้แม้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าพระราชา
มหาอำมาตย์ของพระราชา มิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตก็ตาม พึงปวารณา
ภิกษุผู้ประพฤติอยู่อย่างนี้เพื่อให้ยินดียิ่งด้วยโภคทรัพย์ทั้งหลายว่า ‘มาเถิด พระ
คุณเจ้าผู้เจริญ ผ้ากาสาวพัสตร์เหล่านี้ทำให้ท่านเร่าร้อนมิใช่หรือ ท่านจะเป็นคน
หัวโล้น เที่ยวถือกระเบื้องไปทำไม เชิญเถิด เชิญท่านกลับมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอย
โภคทรัพย์และทำบุญเถิด
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นเมื่อประพฤติอยู่อย่างนี้จักบอกคืน
สิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเป็นไปไม่ได้เลยที่จิตนั้นที่
น้อมไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวกตลอดกาลนานแล้วจักเวียนมาเพื่อ
เป็นคฤหัสถ์”

ทุกขธัมมสูตรที่ 7 จบ

8. กิงสุโกปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยต้นทองกวาว

[245] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาภิกษุอีกรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถาม
ภิกษุรูปนั้นดังนี้ว่า “ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงมีทัศนะ1หมดจดดี”
ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “ผู้มีอายุ เพราะภิกษุรู้ชัดถึงความเกิดและความดับแห่ง
ผัสสายตนะ 6 ประการตามความเป็นจริง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงมีทัศนะ
หมดจดดี”
ขณะนั้น ท่านไม่พอใจการตอบปัญหาของภิกษุรูปนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูป
หนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นดังนี้ว่า “ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ
ภิกษุจึงมีทัศนะหมดจดดี”
ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “ผู้มีอายุ เพราะภิกษุรู้ชัดถึงความเกิดและความดับแห่ง
อุปาทานขันธ์ 5 ตามความเป็นจริง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงมีทัศนะ
หมดจดดี”