เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 4. อาสีวิสวรรค 4. ปฐมทารุกขันโธปมสูตร

สำรวมแล้วก็จะพึงเป็นเหตุให้ถูกธรรมที่เป็นบาปอกุศลคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
จงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก
... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว
อย่ารวบถือ อย่าแยกถือ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะ
พึงเป็นเหตุให้ถูกธรรมที่เป็นบาปอกุศลคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษา
มนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดเธอทั้งหลายจักคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่ เมื่อ
นั้น แม้มารผู้มีบาปก็จะเบื่อหน่าย ไม่ได้โอกาส หลีกจากเธอทั้งหลายไป เหมือน
สุนัขจิ้งจอกเดินจากเต่าไปฉะนั้น
ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นในมโนวิตก ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย
ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ดับกิเลสแล้ว ไม่ว่าร้ายใคร ๆ
เหมือนเต่าหดหัวและขาไว้ในกระดองของตนฉะนั้น”

กุมโมปมสูตรที่ 3 จบ

4. ปฐมทารุกขันโธปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยขอนไม้ สูตรที่ 1

[241] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา เขตกรุงโกสัมพี
ได้ทอดพระเนตรเห็นขอนไม้ใหญ่ ลอยมาตามกระแสแม่น้ำคงคา จึงรับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นขอนไม้ใหญ่โน้นที่
ลอยมาตามกระแสแม่น้ำคงคาหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ถ้าขอนไม้จะไม่ลอยเข้ามาใกล้ฝั่งนี้ ไม่ลอยเข้าไปใกล้ฝั่งโน้น ไม่จมกลาง
แม่น้ำ ไม่เกยตื้น ไม่ถูกมนุษย์นำไป ไม่ถูกอมนุษย์นำไป ไม่ถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้
ไม่ผุภายใน เมื่อเป็นเช่นนี้ ขอนไม้นั้นก็จักลอยไปสู่สมุทรได้ ไหลไปสู่สมุทรได้
เลื่อนไปสู่สมุทรได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะกระแสแม่น้ำคงคาลุ่มไปสู่สมุทร ลาดไปสู่สมุทร ไหลไปสู่สมุทร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :242 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 4. อาสีวิสวรรค 4. ปฐมทารุกขันโธปมสูตร

ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าแม้เธอทั้งหลายจะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้ ไม่เข้าไปใกล้
ฝั่งโน้น ไม่จมในท่ามกลาง ไม่เกยตื้น ไม่ถูกมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกอมนุษย์เข้าสิง ไม่
ถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้ ไม่เป็นผู้เน่าภายใน เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอทั้งหลายก็จักน้อมไป
สู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะสัมมาทิฏฐิย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ อะไรชื่อว่าฝั่งนี้ อะไรชื่อว่าฝั่งโน้น อะไรชื่อว่าการจมในท่ามกลาง อะไร
ชื่อว่าการเกยตื้น การถูกมนุษย์จับไว้เป็นอย่างไร การถูกอมนุษย์เข้าสิงเป็นอย่างไร
การถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้เป็นอย่างไร ความเน่าภายในเป็นอย่างไร”
“ภิกษุ คำว่า ฝั่งนี้ นี้เป็นชื่อของอายตนะภายใน 6 ประการ
คำว่า ฝั่งโน้น นี้เป็นชื่อของอายตนะภายนอก 6 ประการ
คำว่า การจมในท่ามกลาง นี้เป็นชื่อของนันทิราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจ
ความยินดี)
คำว่า การเกยตื้น นี้เป็นชื่อของการถือตัว
การถูกมนุษย์จับไว้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่คลุกคลี เพลิดเพลิน เศร้าโศก กับพวกคฤหัสถ์
เมื่อเขาสุขก็สุขด้วย เมื่อเขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย เมื่อเขามีกิจที่ควรทำเกิดขึ้น ก็ช่วยทำ
กิจนั้นด้วยตนเอง
นี้เรียกว่า การถูกมนุษย์จับไว้
การถูกอมนุษย์เข้าสิง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ประพฤติพรหมจรรย์ปรารถนาหมู่เทพหมู่ใด
หมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็น
เทวดาหรือเทพเจ้าตนใดตนหนึ่ง’
นี้เรียกว่า การถูกอมนุษย์เข้าสิง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :243 }