เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 4. อาสีวิสวรรค 1. อาสีวิโสปมสูตร

ข้างหลังท่านโดยหมายใจว่า ‘พบท่านในที่ใด ก็จะตัดศีรษะท่านในที่นั้นแล’ พ่อ
มหาจำเริญ กิจใดที่ท่านควรทำ ท่านจงทำกิจนั้นเถิด’
ขณะนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษซึ่งมีเดชมาก มีพิษกล้า 4 จำพวก กลัว
นักฆ่าซึ่งเป็นศัตรู 5 จำพวก และกลัวนักฆ่าผู้เป็นสายลับจำพวกที่ 6 ซึ่งเงื้อดาบ
ติดตามไป จึงหนีไปทางใดทางหนึ่ง เขาพบหมู่บ้านร้าง จึงเข้าไปสู่เรือนว่างเปล่า
หลังหนึ่ง ลูบคลำภาชนะว่างเปล่าชนิดหนึ่ง คนทั้งหลายพึงบอกเขาว่า ‘พ่อ
มหาจำเริญ พวกโจรผู้ฆ่าชาวบ้านเพิ่งเข้ามาสู่หมู่บ้านร้างนี้เดี๋ยวนี้เอง กิจใดที่ท่าน
ควรทำ ท่านจงทำกิจนั้นเถิด’
ขณะนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษซึ่งมีเดชมาก มีพิษกล้า 4 จำพวก กลัว
นักฆ่าซึ่งเป็นศัตรู 5 จำพวก กลัวนักฆ่าผู้เป็นสายลับจำพวกที่ 6 ซึ่งเงื้อดาบ
ติดตามไป และกลัวโจรผู้ฆ่าชาวบ้าน จึงหนีไปทางใดทางหนึ่ง เขาพบห้วงน้ำใหญ่
แห่งหนึ่ง ซึ่งฝั่งนี้น่าระแวง มีภัยจำเพาะหน้า แต่ฝั่งโน้นปลอดภัย ไม่มีภัยจำเพาะ
หน้า เขาไม่มีเรือหรือสะพานที่จะข้ามไปฝั่งโน้น
ขณะนั้น บุรุษนั้นคิดอย่างนี้ว่า ‘ห้วงน้ำใหญ่ ฝั่งนี้น่าระแวง มีภัยจำเพาะ
หน้า ฝั่งโน้นปลอดภัย ไม่มีภัยจำเพาะหน้า เรานั้นไม่มีเรือหรือสะพานที่จะข้ามไป
ฝั่งโน้น ทางที่ดี เราควรรวบรวมหญ้า ไม้ กิ่ง และใบมาผูกเป็นแพ อาศัยแพนั้น
ใช้มือและเท้าพยายามไปถึงฝั่งโน้นโดยสวัสดี’
ครั้นบุรุษนั้นรวบรวมหญ้า ไม้ กิ่ง และใบมาผูกเป็นแพแล้ว อาศัยแพนั้น
ใช้มือและเท้าพยายามไปจน ถึงฝั่งโน้นโดยสวัสดี เป็นผู้ลอยบาปดำรงอยู่บนบก
ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้เรายกมาเพื่อให้เข้าใจเนื้อความแจ่มชัด ในอุปมานั้นมี
อธิบายดังนี้ว่า
คำว่า อสรพิษซึ่งมีเดชมาก มีพิษกล้า 4 จำพวก นั้นเป็นชื่อของมหาภูตรูป
4 คือ

1. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) 2. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)
3. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) 4. วาโยธาตุ (ธาตุลม)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :237 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 4. อาสีวิสวรรค 1. อาสีวิโสปมสูตร

คำว่า นักฆ่าซึ่งเป็นศัตรู 5 จำพวก นั้น เป็นชื่อของอุปาทานขันธ์ 5 ได้แก่
1. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
2. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
3. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
4. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
5. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
คำว่า นักฆ่าผู้เป็นสายลับจำพวกที่ 6 ซึ่งเงื้อดาบติดตามไป นั้นเป็นชื่อ
ของนันทิราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี)
คำว่า หมู่บ้านร้าง นั้นเป็นชื่อของอายตนะภายใน 6 ประการ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาพิจารณาอายตนะภายใน 6
ประการนั้นทางตา ก็จะปรากฏเป็นของว่างทั้งนั้น ปรากฏเป็นของเปล่าทั้งนั้น
ปรากฏเป็นของสูญทั้งนั้น
ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาพิจารณาอายตนะภายใน 6 ประการนั้นทางหู
ก็จะปรากฏเป็นของว่างทั้งนั้น ปรากฏเป็นของเปล่าทั้งนั้น ปรากฏเป็นของสูญทั้งนั้น
ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาพิจารณาอายตนะภายใน 6 ประการนั้นทางจมูก
ก็จะปรากฏเป็นของว่างทั้งนั้น ปรากฏเป็นของเปล่าทั้งนั้น ปรากฏเป็นของสูญทั้งนั้น
ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาพิจารณาอายตนะภายใน 6 ประการนั้นทางลิ้น
ฯลฯ
ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาพิจารณาอายตนะภายใน 6 ประการนั้นทาง
กาย ฯลฯ
ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาพิจารณาอายตนะภายใน 6 ประการนั้นทางใจ
ก็จะปรากฏเป็นของว่างทั้งนั้น ปรากฏเป็นของเปล่าทั้งนั้น ปรากฏเป็นของสูญทั้งนั้น
คำว่า พวกโจรผู้ฆ่าชาวบ้าน นั้นเป็นชื่อของอายตนะภายนอก 6 ประการ
ภิกษุทั้งหลาย ตาย่อมเดือดร้อนเพราะรูปที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ หู ฯลฯ
จมูก ฯลฯ ลิ้นย่อมเดือดร้อนเพราะรสที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ กาย ฯลฯ ใจ
ย่อมเดือดร้อนเพราะธรรมารมณ์ที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :238 }