เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 3. สมุททวรรค 9. ปฐมหัตถปาโทปมสูตร

ชิวหาสัมผัสไม่เที่ยง แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยงด้วยประการฉะนี้’
กายินทรีย์ที่บุคคลแทงด้วยหลาวเหล็กที่คม ไฟติด ลุกโชน โชติช่วง ยกไว้ก่อน
เอาเถิด เราจะใส่ใจข้อนี้ว่า ‘กายไม่เที่ยง โผฏฐัพพะไม่เที่ยง กายวิญญาณไม่เที่ยง
กายสัมผัสไม่เที่ยง แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยงด้วยประการฉะนี้’
ความหลับยกไว้ก่อน ฯลฯ เอาเถิด เราจะใส่ใจข้อนี้ว่า ‘มโนไม่เที่ยง
ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง มโนวิญญาณไม่เที่ยง มโนสัมผัสไม่เที่ยง แม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ก็ไม่เที่ยงด้วยประการฉะนี้’
อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก
ต่อไป’
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลคืออาทิตตบรรยายและธรรมบรรยายฉะนี้แล”

อาทิตตปริยายสูตรที่ 8 จบ

9. ปฐมหัตถปาโทปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยมือและเท้า สูตรที่ 1

[236] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมือทั้ง 2 มีอยู่ การจับและการวางก็ปรากฏ เมื่อ
เท้าทั้ง 2 มีอยู่ การก้าวไปและการถอยกลับก็ปรากฏ เมื่อข้อทั้งหลายมีอยู่ การคู้เข้า
และการเหยียดออกก็ปรากฏ เมื่อท้องมีอยู่ ความหิวและความกระหายก็ปรากฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :233 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 3. สมุททวรรค 10. ทุติยหัตถปาโทปมสูตร

ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้เมื่อจักขุมีอยู่ สุขและทุกข์ในภายในจึงเกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เมื่อชิวหามีอยู่ สุขและทุกข์ในภายในจึงเกิดขึ้น
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เมื่อมโนมีอยู่ สุขและทุกข์ในภายในจึงเกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อมือทั้ง 2 ไม่มี การจับและการวางก็ไม่ปรากฏ เมื่อเท้าทั้ง 2 ไม่มี การ
ก้าวไปและการถอยกลับก็ไม่ปรากฏ เมื่อข้อทั้งหลายไม่มี การคู้เข้าและการเหยียด
ออกก็ไม่ปรากฏ เมื่อท้องไม่มี ความหิวและความกระหายก็ไม่ปรากฏ
ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อจักขุไม่มี สุขและทุกข์ในภายใน
ย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เมื่อชิวหาไม่มี สุขและทุกข์ใน
ภายในย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เมื่อมโนไม่มี สุขและ
ทุกข์ภายในย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย”

ปฐมหัตถปาโทปมสูตรที่ 9 จบ

10. ทุติยหัตถปาโทปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยมือและเท้า สูตรที่ 2

[237] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมือทั้ง 2 มีอยู่ การจับและการวางก็มี เมื่อเท้า
ทั้ง 2 มีอยู่ การก้าวไปและการถอยกลับก็มี เมื่อข้อทั้งหลายมีอยู่ การคู้เข้าและ
การเหยียดออกก็มี เมื่อท้องมีอยู่ ความหิวและความกระหายก็มี
ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อจักขุมีอยู่ สุขและทุกข์ในภายในจึงเกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เมื่อชิวหามีอยู่ ฯลฯ เมื่อมโนมีอยู่ สุขและทุกข์ใน
ภายในจึงเกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เมื่อมือทั้ง 2 ไม่มี การจับและการวางก็ไม่มี เมื่อเท้าทั้ง 2 ไม่มี การ
ก้าวไปและการถอยกลับก็ไม่มี เมื่อข้อทั้งหลายไม่มี การคู้เข้าและการเหยียดออกก็
ไม่มี เมื่อท้องไม่มี ความหิวและความกระหายก็ไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :234 }