เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
1. ปฐมปัณณาสก์ 3. สัพพวรรค 3. อภิญญาปริญญาปหานสูตร

โสตะเป็นสิ่งที่ควรละ ฯลฯ
ฆานะเป็นสิ่งที่ควรละ ฯลฯ
ชิวหาเป็นสิ่งที่ควรละ รสเป็นสิ่งที่ควรละ ชิวหาวิญญาณเป็นสิ่งที่ควรละ
ชิวหาสัมผัสเป็นสิ่งที่ควรละ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ
กายเป็นสิ่งที่ควรละ ฯลฯ
มโน1เป็นสิ่งที่ควรละ ธรรมารมณ์เป็นสิ่งที่ควรละ มโนวิญญาณ2เป็นสิ่งที่
ควรละ มโนสัมผัส3เป็นสิ่งที่ควรละ แม้ความเสวยอารมณ์4ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือ
มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง เป็นอย่างนี้แล”

ปหานสูตรที่ 2 จบ

3. อภิญญาปริญญาปหานสูตร
ว่าด้วยธรรมเพื่อรู้ยิ่งกำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง

[25] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวงแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเพื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง เป็นอย่างไร
คือ จักขุเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ รูปเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้
แล้วละ จักขุวิญญาณเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ จักขุสัมผัสเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง
กำหนดรู้แล้วละ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
1. ปฐมปัณณาสก์ 3. สัพพวรรค 4. ปฐมอปริชานนสูตร

ชิวหาเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ รสเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ
ชิวหาวิญญาณเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ ชิวหาสัมผัสเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนด
รู้แล้วละ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
ชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ
กายเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ ฯลฯ
มโนเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ ธรรมารมณ์เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง
กำหนดรู้แล้วละ มโนวิญญาณเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ มโนสัมผัสเป็น
สิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเพื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง เป็นอย่างนี้แล”

อภิญญาปริญญาปหานสูตรที่ 3 จบ

4. ปฐมอปริชานนสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่กำหนดรู้สิ่งทั้งปวง สูตรที่ 1

[26] “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด
ไม่ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสิ่งทั้งปวงอะไรเล่า
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
คือ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละจักขุ เป็นผู้ไม่ควร
เพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละรูป
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด
ไม่ละจักขุวิญญาณ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้
ไม่คลายกำหนัด ไม่ละจักขุสัมผัส เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง
ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิ
ใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :24 }