เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 3. สมุททวรรค 7. อุทายิสูตร

“ท่านกามภู ตาไม่เกี่ยวข้องกับรูป รูปก็ไม่เกี่ยวข้องกับตา แต่เพราะอาศัยตา
และรูปทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ตาและรูปนั้นจึงเกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น
ฯลฯ
ลิ้นไม่เกี่ยวข้องกับรส รสก็ไม่เกี่ยวข้องกับลิ้น ฯลฯ
ใจไม่เกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เกี่ยวข้องกับใจ แต่เพราะ
อาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ใจและธรรมารมณ์นั้นจึง
เกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น
ท่านผู้มีอายุ เปรียบเหมือนโคดำกับโคขาว เขาผูกติดกันด้วยสายคร่าวหรือ
ด้วยเชือกเส้นเดียวกัน ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘โคดำเกี่ยวเนื่องกับโคขาว โคขาว
เกี่ยวเนื่องกับโคดำ’ ผู้นั้นเมื่อกล่าวพึงกล่าวถูกต้องหรือ”
“ไม่ถูกต้อง ขอรับ โคดำไม่เกี่ยวเนื่องกับโคขาว แม้โคขาวก็ไม่เกี่ยวเนื่องกับ
โคดำ แต่โคทั้งสองนั้นถูกเขาผูกด้วยสายคร่าวหรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน สายคร่าว
หรือเชือกนั้นจึงเกี่ยวเนื่องในโคทั้งสองนั้น”
“ผู้มีอายุ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ตาไม่เกี่ยวข้องกับรูป
รูปก็ไม่เกี่ยวข้องกับตา ฯลฯ
ลิ้นไม่เกี่ยวข้องกับรส ฯลฯ
ใจไม่เกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เกี่ยวข้องกับใจ แต่เพราะ
อาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ใจและธรรมารมณ์นั้นจึง
เกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น”

กามภูสูตรที่ 6 จบ

7. อุทายิสูตร
ว่าด้วยพระอุทายี

[234] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระอุทายีอยู่ ณ โฆสิตาราม
เขตกรุงโกสัมพี ครั้นในเวลาเย็นท่านพระอุทายีออกจากที่หลีกเร้นแล้ว เข้าไปหา
ท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :228 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 3. สมุททวรรค 7. อุทายิสูตร

“ท่านอานนท์ กายนี้พระผู้มีพระภาคตรัสบอก เปิดเผย ประกาศแล้วโดย
ประการต่าง ๆ ว่า ‘กายนี้เป็นอนัตตาแม้เพราะเหตุนี้’ ฉันใด แม้วิญญาณนี้
ท่านอาจบอก1 แสดง2 บัญญัติ3 กำหนด4 เปิดเผย5 จำแนก6 ทำให้ง่าย7 ว่า
‘วิญญาณนี้เป็นอนัตตาแม้เพราะเหตุนี้’ ฉันนั้นหรือ”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ท่านอุทายี กายนี้พระผู้มีพระภาคตรัสบอก เปิดเผย
ประกาศแล้วโดยประการต่าง ๆ ว่า ‘กายนี้เป็นอนัตตาแม้เพราะเหตุนี้’ ฉันใด แม้
วิญญาณนี้ผมอาจบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายว่า
‘วิญญาณนี้เป็นอนัตตาแม้เพราะเหตุนี้’ ฉันนั้น”
“เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิดหรือ”
“อย่างนั้น ขอรับ”
“เหตุและปัจจัยเพื่อให้จักขุวิญญาณเกิดพึงดับทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมดทุกอย่าง
ไม่เหลือโดยประการทั้งปวง จักขุวิญญาณจะพึงปรากฏบ้างหรือ”
“ไม่ปรากฏ ขอรับ”
“จักขุวิญญาณพระผู้มีพระภาคตรัสบอก เปิดเผย ประกาศแล้วโดยประการ
แม้นี้ว่า ‘วิญญาณนี้เป็นอนัตตาแม้เพราะเหตุนี้’ ฯลฯ
“เพราะอาศัยลิ้นและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิดหรือ”
“อย่างนั้น ขอรับ”