เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 3. สมุททวรรค 4. ขีรรุกโขปมสูตร

รูปที่พึงรู้แจ้งทางตามีอยู่ ราคะนั้นภิกษุหรือภิกษุณียังละไม่ได้ โทสะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณียังละไม่ได้ โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณียังละไม่ได้ ถ้าแม้รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา
เพียงเล็กน้อยมาปรากฏทางตาของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ย่อมครอบงำจิตของภิกษุ
หรือภิกษุณีนั้นได้แท้ ไม่จำต้องกล่าวถึงรูปที่มากกว่าเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะนั้นยังมีอยู่ โทสะนั้นยังมีอยู่ โมหะนั้นยังมีอยู่ ราคะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณียังละไม่ได้ โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณียังละไม่ได้ โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณี
ยังละไม่ได้ ฯลฯ
ราคะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นมีอยู่ ฯลฯ
ราคะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจมีอยู่
โทสะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจมีอยู่ โมหะ
ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจมีอยู่ ราคะนั้น
ภิกษุหรือภิกษุณียังละไม่ได้ โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณียังละไม่ได้ โมหะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณียังละไม่ได้ ถ้าแม้ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเพียงเล็กน้อยมาปรากฏทางใจ
ของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ย่อมครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้แท้ ไม่จำต้อง
กล่าวถึงธรรมารมณ์ที่มากกว่าเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะนั้นยังมีอยู่ โทสะนั้นยังมีอยู่ โมหะนั้นยังมีอยู่ ราคะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณีนั้นยังละไม่ได้ โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณียังละไม่ได้ โมหะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณียังละไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย ราคะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไม่มี
โทสะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไม่มี โมหะของภิกษุ
หรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไม่มี ราคะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้
แล้ว โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว ถ้าแม้
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาซึ่งมากกว่ามาปรากฏทางตาของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ครอบงำ
จิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงรูปเพียงเล็กน้อยเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :222 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 3. สมุททวรรค 4. ขีรรุกโขปมสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะนั้นไม่มี โทสะนั้นไม่มี โมหะนั้นไม่มี ราคะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้
แล้ว โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว ฯลฯ
ราคะของภิกษุหรือของภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรสที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้นไม่มี ฯลฯ
ราคะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจไม่มี โทสะ
ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจไม่มี โมหะของ
ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจไม่มี ราคะนั้นภิกษุ
หรือภิกษุณีละได้แล้ว โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว โมหะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณีนั้นละได้แล้ว ถ้าแม้ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจซึ่งมากกว่ามาปรากฏทางใจของ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือของภิกษุณีนั้นไม่ได้ ไม่จำต้อง
กล่าวถึงธรรมารมณ์เพียงเล็กน้อยเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะนั้นไม่มี โทสะนั้นไม่มี โมหะนั้นไม่มี ราคะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละ
ได้แล้ว โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มียาง จะเป็นต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นกร่าง
หรือต้นมะเดื่อก็ตาม ซึ่งเป็นไม้แห้ง ผุมา 3-4 ปี บุรุษใช้ขวานที่คมฟันต้นไม้นั้น
ตรงที่ใด ๆ ยางจะพึงไหลออกได้ไหม”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะยางนั้นไม่มี พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ราคะของภิกษุ
หรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไม่มี โทสะของภิกษุหรือภิกษุณีรูป
ใดรูปหนึ่งในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไม่มี โมหะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรูป
ที่พึงรู้แจ้งทางตาไม่มี ราคะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว โทสะนั้นภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :223 }