เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 3. สมุททวรรค 4. ขีรรุกโขปมสูตร

รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์
นั้นอยู่ ภิกษุนี้เราเรียกว่า ‘ผู้กลืนเบ็ดของมาร ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ
ถูกมารผู้มีบาปทำได้ตามใจปรารถนา’
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ ภิกษุนี้
เราเรียกว่า ‘ผู้ไม่กลืนเบ็ดของมาร ได้ทำลายเบ็ด ย่ำยีเบ็ด ไม่ถึงความวิบัติ
ไม่ถึงความพินาศ ไม่ถูกมารผู้มีบาปทำได้ตามใจปรารถนา’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ... มีอยู่ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด
ธรรมารมณ์นั้นอยู่ ภิกษุนี้เราเรียกว่า ‘ผู้ไม่กลืนเบ็ดของมาร ได้ทำลายเบ็ด ย่ำยีเบ็ด
ไม่ถึงความวิบัติ ไม่ถึงความพินาศ ไม่ถูกมารผู้มีบาปทำได้ตามใจปรารถนา”

พาฬิสิโกปมสูตรที่ 3 จบ

4. ขีรรุกโขปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยต้นไม้มียาง

[231] “ภิกษุทั้งหลาย ราคะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรูปที่พึงรู้แจ้ง
ทางตามีอยู่ โทสะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตามีอยู่
โมหะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตามีอยู่ ราคะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณียังละไม่ได้ โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณียังละไม่ได้ โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณี
ยังละไม่ได้ ถ้าแม้รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาเพียงเล็กน้อยมาปรากฏทางตาของภิกษุหรือ
ภิกษุณีนั้น ก็ย่อมครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้แท้ ไม่จำต้องกล่าวถึงรูป
ที่มากกว่านั้นเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :220 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 3. สมุททวรรค 4. ขีรรุกโขปมสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะนั้นยังมีอยู่ โทสะนั้นยังมีอยู่ โมหะนั้นยังมีอยู่ ราคะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณียังละไม่ได้ โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณียังละไม่ได้ โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณี
ยังละไม่ได้ ฯลฯ
ราคะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นมีอยู่ ฯลฯ
ราคะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจมีอยู่
โทสะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจมีอยู่ โมหะของ
ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจมีอยู่ ราคะนั้นภิกษุ
หรือภิกษุณียังละไม่ได้ โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณียังละไม่ได้ โมหะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณียังละไม่ได้ ถ้าแม้ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเพียงเล็กน้อยมาปรากฏทางใจ
ของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ย่อมครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้แท้ ไม่จำต้อง
กล่าวถึงธรรมารมณ์ที่มากกว่านั้นเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะนั้นยังมีอยู่ โทสะนั้นยังมีอยู่ โมหะนั้นยังมีอยู่ ราคะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณียังละไม่ได้ โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณียังละไม่ได้ โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณี
ยังละไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มียาง จะเป็นต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นกร่าง
หรือต้นมะเดื่อก็ตาม ยังอ่อน ใหม่ ขนาดเล็ก บุรุษใช้ขวานที่คมฟันต้นไม้นั้นตรง
ที่ใด ๆ ยางจะพึงไหลออกได้ไหม”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะยางนั้นมีอยู่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ราคะของภิกษุ
หรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตามีอยู่ โทสะของภิกษุหรือภิกษุณี
รูปใดรูปหนึ่งในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตามีอยู่ โมหะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :221 }