เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
1. ปฐมปัณณาสก์ 3. สัพพวรรค 2. ปหานสูตร

3. สัพพวรรค
หมวดว่าด้วยสิ่งทั้งปวง
1. สัพพสูตร
ว่าด้วยสิ่งทั้งปวง

[23] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสิ่งทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวง
คือ (1) จักขุกับรูป (2) โสตะกับสัททะ (3) ฆานะกับคันธะ (4) ชิวหากับรส
(5) กายกับโผฏฐัพพะ (6) มโนกับธรรมารมณ์
นี้เราเรียกว่า ‘สิ่งทั้งปวง’
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าจักบอกเลิกสิ่งทั้งปวงแล้ว
บัญญัติสิ่งอื่นแทน’ คำพูดของผู้นั้นคงเป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ครั้นถูกถามเข้าก็คง
ตอบไม่ได้และถึงความลำบากอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาถูกถามในสิ่ง
อันมิใช่วิสัย1”

สัพพสูตรที่ 1 จบ

2. ปหานสูตร
ว่าด้วยธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง

[24] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรม เพื่อละสิ่งทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง เป็นอย่างไร
คือ จักขุเป็นสิ่งที่ควรละ รูปเป็นสิ่งที่ควรละ จักขุวิญญาณเป็นสิ่งที่ควรละ
จักขุสัมผัสเป็นสิ่งที่ควรละ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
1. ปฐมปัณณาสก์ 3. สัพพวรรค 3. อภิญญาปริญญาปหานสูตร

โสตะเป็นสิ่งที่ควรละ ฯลฯ
ฆานะเป็นสิ่งที่ควรละ ฯลฯ
ชิวหาเป็นสิ่งที่ควรละ รสเป็นสิ่งที่ควรละ ชิวหาวิญญาณเป็นสิ่งที่ควรละ
ชิวหาสัมผัสเป็นสิ่งที่ควรละ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ
กายเป็นสิ่งที่ควรละ ฯลฯ
มโน1เป็นสิ่งที่ควรละ ธรรมารมณ์เป็นสิ่งที่ควรละ มโนวิญญาณ2เป็นสิ่งที่
ควรละ มโนสัมผัส3เป็นสิ่งที่ควรละ แม้ความเสวยอารมณ์4ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือ
มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง เป็นอย่างนี้แล”

ปหานสูตรที่ 2 จบ

3. อภิญญาปริญญาปหานสูตร
ว่าด้วยธรรมเพื่อรู้ยิ่งกำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง

[25] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวงแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเพื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง เป็นอย่างไร
คือ จักขุเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ รูปเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้
แล้วละ จักขุวิญญาณเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ จักขุสัมผัสเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง
กำหนดรู้แล้วละ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ ฯลฯ